วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

เพลงออกภาษาจีน


อัปโหลดโดย เมื่อ 17 เม.ย. 2011

"เพลงออกภาษาจีน"
เป็นส่วนหนึ่งในชุดเพลงสิบสองภาษา ประกอบไปด้วยเพลงจีนขิมเล็ก เพลงจีนไจ้ยอ เพลงจีนโป๊ยกังเหล็ง

(จีนขิมเล็ก สามก๊ก) โยธา ฮาเฮ บ้างเสสรวล ขับครวญ ตามภาษา อัชฌาสัย
ร้องเป็น ลำนำ ทำนองใน เรื่องขงเบ้ง เมื่อใช้ อุบายกล
ขึ้นไปนั่ง บนกำแพง แกล้งตีขิม พยักยิ้ม ให้ข้าศึก นึกฉงน
ไพรี มิได้แจ้ง แห่งยุบล ให้เลิกทัพ กลับพล รีบหนีไป..

(จีนใจ๋ยอ) สามสุมา กล้าศึก นึกฉงน คร้ามในกล ขงเบ้ง เก่งใจหาย
เคยเสียทัพ ยับแทบ ตัวตาย สุมาอี้ นึกหน่าย ฉงนความ
เจ๋ใจ่ยอ ฮอฟาน ฮ้อจง ตั่งฮ้อฮอ ตั้งฮ้อ มุ่ยเชียง
เอี่ยวหลี มาเพียว อ่ายยอ อายูนัม แต้อิ๋ว นั้มฟั้น อ่ายยอ
ให้มาใช้ ไต่สวน กระบวนศึก ตื้นลึก กลใด เที่ยวไต่ถาม
ว่ามี สองคน ในกลความ สุมาอี้ นึกขาม ร้องอ๋ายโย
หนูตั้งกอ ฮ้อยินไฟ จินเจี้ยวอา ฮ้าไฮ้ อ่ายยอ
เอี่ยวหลี มาเพียว อ่ายยอ อายูลิว ผิวหนู นั้มฟั้น อ่ายยอ
ให้เลิกทัพ กลับพหล พลสิบหมื่น คืน ถอยหลัง ยังฮูโต๋
เข้าเฝ้า เจ้าโจผี บีรีโต ร้องอ๋ายโย เสียทัพ กลับมา
ฮ้อฮู่ฮวง ฮ้อซัน ซือแฮ ตั่งฮ้อยอ ตั้งฮ้อ มุ่ยเชียง
เอี่ยวหลี มาเพียว อ่ายยอ อายูลิว ผิวหวัน นั้มฟั้น อ่ายยอ....

(บรรเลงต่อด้วยเพลงโป๊ยกังเหล็ง)

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

เชิญร่วมกิจกรรม "เสื้อหลากสีไม่ว่า แต่ขออย่าให้ใจดำ" วันที่เริ่ม 17 มกราคมเวลา 8:30



จาก: Bus Tewarit <notification+zrdohr1vdlvf@facebookmail.com>
วันที่: 17 มกราคม 2555, 0:39
หัวเรื่อง: [CBN Press] เนื่องด้วยวันนี้(17 ม.ค.)เช้า 9 โมงเช้า...
ถึง: CBN Press <cbnpress@groups.facebook.com>


เนื่องด้วยวันนี้(17 ม.ค.)เช้า 9 โมงเช้า...
Bus Tewarit 17 มกราคม 0:39
เนื่องด้วยวันนี้(17 ม.ค.)เช้า 9 โมงเช้า คณะเสื้อหลากสี หมอตุลย์ จะไปยืนหนังสือค้านการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม และแก้ ม.112 นั้น เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งมาตรฐานความเป็น มนุษย์ ของสังคมนี้ การเยียวยาของ รบ.แม้ไม่อาจชดเชยค่าของคนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บไปได้ แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ และต้องขยายกรอบทั้งบริมาณการชดเชย และกรณีอื่นๆ รวมถึงการเร่งให้ รบ.รีบดำเนินการค้นหาความจริง

พร่งนี้ 8.30 น. ไปที่หน้า UN และเดินไปนอนแพล้งกิ้งที่หน้าประตูทำเนียบ พร้อมยืนหนังสือให้รัฐบาลเร่งเยียวยา และพิจารณาแก้ ม.112 กัน ภายใต้ชื่อกิจกรรม "เสื้อหลากสีไม่ว่า แต่ขออย่าให้ใจดำ"

ต้องขออภัยทุกท่านที่เชิญชวนกระทันหันเนื่องจากพึ่งรูว่าพรุ่งนี้จะมี เสื้อหลากสีใจดำไปค้าน

ฝากแชร์ด้วยครับ

ดูโพสต์บน Facebook · แก้ไขการตั้งค่าอีเมล · ตอบกลับอีเมล์นี้เพื่อเพิ่มความคิดเห็น


 

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

สช. สปร. สานพลังเครือข่ายสมัชชา พลิกวิกฤตอุทกภัย พัฒนาทุกระบบ พร้อมรับมือภัยพิบัติ

LOGO-Samatcha--violet_modi2+A

สช. สปร. สานพลังเครือข่ายสมัชชา

พลิกวิกฤตอุทกภัย พัฒนาทุกระบบ พร้อมรับมือภัยพิบัติ

กรุงเทพฯ – 9 มกราคม 2555 – สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จับมือสำนักงานปฏิรูป (สปร.) ร่วมกับองค์กรร่วมจัดกว่า 10 องค์กร และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ จัดเวทีสังเคราะห์บทเรียนจากมหาอุทกภัยสู่การพัฒนาระบบจัดการภัยพิบัติ เพื่อพัฒนาข้อเสนอระบบจัดการภัยพิบัติทุกประเภทและทั้งระบบ โดยยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง ภาครัฐ ภาควิชาการร่วมหนุนเสริม

นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป กล่าวในการแถลงข่าว "พลิกวิกฤตมหาอุทกภัย สู่การพัฒนาระบบจัดการภัยพิบัติ"  เมื่อโลกเปลี่ยนไป สังคมไทยจำต้องเปลี่ยนตาม

"โลกทุกวันนี้ ไม่เหมือนเดิมแล้ว ดิน น้ำ อากาศ เปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้เกิดภัยพิบัติมากมายและถี่ขึ้น ทั้งภัยจากธรรมชาติและภัยจากน้ำมือของมนุษย์ โดยสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมาได้กระตุกให้สังคมไทยได้รู้เห็นถึงปัญหาอีกมาก ขณะเดียวกันก็เห็นสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นด้วย"

เลขาธิการ คสช. ยังย้ำด้วยว่า หลังน้ำท่วมใหญ่คือโอกาสอันดีที่จะมาทบทวนบทเรียนกัน และบทสังเคราะห์ครั้งนี้ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพและสมัชชาปฏิรูป จะนำไปปรับใช้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำหลังจากนี้

ทางด้าน นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ในฐานะประธานคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น "การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง" กล่าวด้วยว่า ร่างมติที่จะเสนอพิจารณาในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่จะถึงนี้ จะครอบคลุมระบบจัดการภัยพิบัติทุกประเภท เช่น ภัยธรรมชาติ 7 อย่าง ได้แก่ ภัยพิบัติฉับพลันอย่างสึนามิ ภัยจากดินถล่ม แผ่นดินไหว และภัยพิบัติที่คาดว่าจะเสียหายมาก อย่างเช่น มหาอุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่า และหมอกควัน ซึ่งภัยเหล่านี้จะเป็นปัญหากับระบบสุขภาพอย่างมาก ซึ่งจะมุ่งเน้นการยกระดับการจัดการที่ชุมชนต้องเป็นศูนย์กลาง พร้อมที่จะพึ่งตนเอง โดยองค์กรภาครัฐให้การสนับสนุนทรัพยากรอย่างทั่วถึง

"ภัยพิบัติในอนาคตจะใหญ่หลวงมาก ลำพังภาครัฐ เอาไม่อยู่แน่นอน จำเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชนจะต้องลุกขึ้นมาจัดการตนเอง เลิกรอการช่วยเหลือจากรัฐ" ประธานคณะทำงานวิชาการ กล่าวเสริมว่า ข้อเสนอสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในประเด็นการจัดการภัยพิบัติจะได้รับการปรับปรุงด้วยข้อเสนอที่ได้จากมุมมองต่าง ๆ ของเวทีครั้งนี้ เพื่อประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนชุมชนภาคสังคมและกระตุ้นกลไกรัฐในเวลาเดียวกัน

ส่วนประเด็นการจัดการระบบผังเมือง ซึ่งถูกกล่าวถึงกันมากภายหลังภัยพิบัติแต่ละครั้ง นางภารณี สวัสดิรักษ์ ประธานเครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม ได้กล่าวว่า ช่วงเกิดดินโคลนถล่มที่ผ่านมา ประเด็นผังเมืองได้กลายเป็นเรื่องราวที่ถูกยกมาพูดถึงกันมาก จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องชี้แจงว่าผังเมืองไม่ใช่สาเหตุของการเกิดภัยพิบัติ ปัญหาอยู่ที่ "การบังคับใช้" เช่น การทำผังเมืองต้องมีการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย และถ้าหากไม่มีการนำไปปฏิบัติ ผังเมืองจะเป็นเพียง "แผนที่ระบายสี" เท่านั้น

ในขณะที่ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ กล่าวเสริมถึงระบบการแพทย์และการสาธารณสุขในการรับมือภัยพิบัติว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขสามารถรับมือปัญหาได้ระดับหนึ่ง โดยสามารถป้องกันไม่ให้มีการฆ่าตัวตาย และป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาด รวมถึงการจัดสรรเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ไม่ขาดแคลน และยังส่งกระจายไปยังพื้นที่ประสบภัยอย่างทั่วถึง ซึ่งหน่วยงานต่างประเทศให้การยอมรับ

เลขาธิการ คสช. กล่าวทิ้งท้ายว่าบทเรียนที่เกิดขึ้นจากเวทีครั้งนี้ จะนำบทสรุปที่ได้ไปพัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2555 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ และข้อเสนอของสมัชชาปฏิรูปที่จะจัดในช่วงวันที่ 30-31 มีนาคม และ 1 เมษายน 2555

 

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

 

ประสานงาน :          สำนักการสื่อสารทางสังคม  สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

นายเอกชัย เอื้อธารพิสิฐ (เอก) 02-8329148 , 081-556-5269

 

 

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

จากอ่าวปัตตานี ถึงผืนป่ามรดกโลก

 

จากอ่าวปัตตานี ถึงผืนป่ามรดกโลก

วันที่ 03 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 13:23:10 น.

Share




 

สัปดาห์ก่อน ผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปอ่าวปัตตานีเพื่อเยี่ยมเยียนพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน สัปดาห์ถัดมาได้ไปร่วมกิจกรรม "ธรรมยาตราผืนป่ามรดกโลก" ในการเดินรอบป่ามรดกโลก 5 แห่งคือ เขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา และดงใหญ่ เป็นระยะทาง 760 กิโลเมตร เพื่อศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมรอบป่าดังกล่าว


ในกรณีแรกผู้เขียนไปที่ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ส่วนกรณีหลังผู้เขียนไปร่วมเดินอยู่ 2 วันที่ป่าทับลาน ช่วงอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา


แม้จะเป็น 2 พื้นที่ ใน 2 ภูมิภาคที่ห่างไกลกัน แต่ก็ได้เห็นประเด็นบางอย่างที่เชื่อมโยงถึงกัน


ที่อ่าวปัตตานี พี่น้องประมงโดยการนำของ "สมาคมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี" ได้ร่วมกันฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของทะเลปัตตานีให้กลับคืนมา หลังจากที่ทะเลถูกทำลายราบคาบจากเรืออวนรุนขนาดใหญ่


พ.ร.บ.ประมง 2490 ห้ามเรือขนาดใหญ่เข้าจับปลาในเขต 3,000 เมตรจากชายฝั่งทั่วประเทศ เพื่อกันเขตนี้ให้ประมงพื้นบ้านได้ทำกินโดยใช้เครื่องมือเล็กๆ จับสัตว์น้ำเฉพาะอย่างในปริมาณที่ไม่มากนัก ทะเลชายฝั่งซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์เล็กจึงฟื้นฟูตัวเองได้ทัน


แต่เรืออวนรุนก็มักลักลอบเข้าไปจับสัตว์เล็กๆ ในเขต 3,000 เมตร เปรียบเสมือนรถแทรกเตอร์ไถพื้นทะเลจนราบเป็นหน้ากลอง ทำให้ปลาใหญ่ ปลาเล็ก ปะการัง หญ้าทะเล ในเขตชายฝั่งพินาศไปต่อหน้าต่อตา ชาวบ้านหมดหนทางทำประมงที่เป็นอาชีพดั้งเดิม ต้องเปลี่ยนไปรับจ้าง ไม่ก็ข้ามไปทำงานในมาเลเซีย ครัวเรือนและชุมชนแตกเป็นเสี่ยงๆ


แต่พวกเขาก็ไม่ย่อท้อ ค่อยๆ ใช้กิจกรรมหลากหลายในการรวมพลังชุมชนเพื่อต่อกรกับเรืออวนรุนที่มีนักการเมืองระดับชาติและนายทุนเป็นเจ้าของ จนชาวบ้านได้ชัยชนะ เรืออวนรุนกว่า 400 ลำไม่สามารถหาปลาในเขตทะเลปัตตานีได้อีกต่อไป


กลยุทธ์หนึ่งที่ชาวบ้านทำคือการสร้าง "ซั้ง" หรือปะการังเทียมในอ่าวปัตตานีเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์เล็กๆ


ซั้งทำจากไม้ไผ่ถ่วงด้วยถุงทราย ล้วนเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น แล้วช่วยกันเอาไปปักสุมในทะเลตามจุดที่ชาวบ้านช่วยกันกำหนดขึ้น ปีหน้าพอซั้งพังก็ต้องร่วมมือกันทำขึ้นใหม่


การได้มาซึ่งซั้งแต่ละจุด ต้องมาจากการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน ไม่มีทางทำสำเร็จได้โดยลำพัง ต่างจากปะการังเทียมสำเร็จรูปที่หน่วยงานมักเอาไปจมลงทะเล โดยชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมใดๆ มิหนำซ้ำบางทียังเอาไปจมในจุดที่ชาวบ้านใช้วางอวนเสียอีก


ซั้งจึงเป็นกลยุทธ์ที่ล่อทั้งปลาและล่อทั้งคนให้มา "รวมกัน"


เมื่อชาวบ้านรวมตัวกันติดก็เริ่มต่อสู้ในเชิงกฎระเบียบ พ.ร.บ.ประมงที่ห้ามเรือขนาดใหญ่ทำประมงในเขต 3,000 เมตรจากชายฝั่ง แต่ก็มีการฝ่าฝืนเพราะดูไม่ออกว่าอยู่ในหรือนอกเขต 3,000 เมตรนั้น ชาวประมงปัตตานีก็ผลักดันจนเกิดประกาศกระทรวงเกษตรฯ พ.ศ.2546 ห้ามใช้อวนรุนประกอบเรือยนต์ทำการประมงในท้องที่ปัตตานีโดยเด็ดขาด

 

ทุกวันนี้ชาวบ้านกับราชการตั้ง "กองทุนน้ำมัน" ออกเรือลาดตระเวนทะเลด้วยกัน หากจับเรืออวนรุนได้ก็ส่งดำเนินคดี อัยการและศาลซึ่งเริ่มเข้าใจถึงความสำคัญของทะเลชายฝั่ง และเห็นว่าเรืออวนรุนแต่ละลำล้วนทำผิดซ้ำซาก จึงบังคับใช้กฎหมายเต็มที่ แทนที่จะปรับ 4,000 บาทต่อรายแล้วปล่อยตัวไป ศาลท่านก็สั่งริบเรือราคาหลายสิบล้านด้วย


ทะเลปัตตานีจึงกลายเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ปลอดเรืออวนรุนเข้าไปทำมาหากิน ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลกลับคืนมา สมาชิกในชุมชนกลับบ้านไปทำประมง มีรายได้จากการทำประมงพื้นบ้าน ไม่รวย แต่พึ่งตัวเองได้ เข้มแข็ง ภาคภูมิ และสุขใจ


ป่าชายเลนของอ่าวปัตตานีนั้นใหญ่โตอุดมสมบูรณ์มาก หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวพยายามผลักดันให้ชาวบ้านจัดเรือพานักท่องเที่ยวเข้าไปดู แต่ชาวบ้านปรึกษาหารือกันแล้วขอปฏิเสธ อยากเก็บผืนป่านี้ไว้ให้ "unseen" ต่อไป


ขณะที่ "แนวร่วม" ที่เคยไม่ไว้วางใจสมาคมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานีจนถึงขนาดเผาที่ทำการทิ้งมาแล้วเพราะเห็นว่าสมาคมฯ ไปติดต่อคบหากับหน่วยราชการต่างๆ ทว่าตอนหลังก็มีความเข้าใจเพราะเห็นว่าชาวบ้านกลุ่มนี้และสมาคมฯ ทำเพื่ออนุรักษ์ท้องทะเล เพื่อประโยชน์ของชาวชุมชนโดยแท้


จากอ่าวปัตตานี สัปดาห์ถัดมาผู้เขียนได้ไปร่วมธรรมยาตราที่เสิงสาง


ขบวนธรรมยาตราเริ่มเดินจากเขาใหญ่เมื่อ 9 ธันวาคม 2554 และจะสิ้นสุดการเดินทางในปลายเดือนมกราคม 2555 (หารายละเอียดจากเครือข่ายออนไลน์ได้จากคำว่า "ธรรมยาตรา ผืนป่ามรดกโลก")


ก่อนที่ผู้เขียนจะไปร่วมเดิน คณะฯ ได้เดินเท้าผ่านเขาใหญ่ วังน้ำเขียว ครบุรี และเสิงสาง ช่วงเขาใหญ่และวังน้ำเขียว คณะธรรมยาตราฯ ได้เห็นปัญหาบ้านพักตากอากาศและรีสอร์ตเอกชนบุกรุกป่า และการขยายถนนกบินทร์บุรี-ปักธงชัย (สาย 304) ที่แยกผืนป่าเขาใหญ่และทับลานออกจากกัน พอข้ามไปเขตครบุรี และเสิงสาง ได้พบการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ใหญ่โตมโหฬาร ชนิดที่เดินเท้าวันแล้ววันเล่าก็ยังไปไม่พ้นเขตไร่มันเสียที


ประเทศไทยใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังราว 7.5 ล้านไร่ ปลูกอยู่ในอีสาน 4 ล้านไร่ (ขณะที่ประเทศไทยมีป่า 99 ล้านไร่ หรือร้อยละ 30 ของประเทศ)


เมืองไทยส่งออกมันสำปะหลังปีละ 22 ล้านตัน มาจากอีสาน 11 ล้านตัน มูลค่าส่งออกรวมกว่า 2 พันล้านเหรียญ (ขณะที่ปี 2550 ส่งออก 1.4 พันล้านเหรียญ)


ทั่วโลกส่งออกมันสำปะหลัง 224 ล้านตัน 10 ประเทศที่ส่งออกมันมากที่สุดคือ ไนจีเรีย บราซิล ไทย อินโดนีเซีย คองโก กานา เวียดนาม แองโกลา อินเดีย และโมซัมบิก


มันสำปะหลังมักจะนำไปแปรรูป เช่น ทำแป้งเพื่อใช้ทำอาหาร (ขนมปัง บะหมี่ ไส้กรอก ลูกกวาด ฯลฯ) หรือเอาไปอัดเม็ดเป็นอาหารสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารมนุษย์อีกทีหนึ่ง


ขณะที่เราใช้ผืนป่ามหาศาลปลูกมันเพื่อเลี้ยงคนทั้งโลก ทำให้มีบางคนเหลือกินเหลือใช้ แต่ก็มีทารกทั่วโลกตายด้วยโรคที่ป้องกันได้และอดอาหารตายปีละ 14 ล้านคน


ผืนป่าถูกทำลาย เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งอ้วนท้วนร่ำรวย แต่อีกฝ่ายไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรและแหล่งอาหารจนต้องอดตาย สังเกตดูประเทศที่ส่งออกมัน ล้วนยากจนทั้งสิ้น


ย้อนกลับไปที่ธรรมยาตราฯ ตลอดเส้นทางเดินที่ผ่านมา ชาวบ้านหรือแม้แต่นักเรียนแถบนั้นแทบไม่รู้เห็นกับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของป่า 3.8 ล้านไร่ ทั้ง 5 แห่ง เมื่อปี 2548 บางคนเคยได้ยิน "ป่ามรดกโลก" แต่ก็ไม่เคยถูกบอกให้เห็นถึงความสำคัญ หรือไม่รู้ว่าจะมีส่วนร่วมกับป่าข้างบ้านได้อย่างไร โรงเรียนไม่มีหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องป่า ผอ.ไม่อนุญาตให้คุณครูพานักเรียนเดินศึกษาป่า คนกับป่าไม่ถูกทำให้เชื่อมถึงกัน และคนทำลายป่า


ที่น่าสนใจคือ ชุมชนแถบนั้นมักเป็นผู้อพยพไปจากถิ่นอื่น เป็นชุมชนใหม่ การรวมตัวยังไม่เข้มแข็งนัก ขณะที่แรงผลักทางเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อขาย ทำให้เกิดการขยายพื้นที่ทำกินมากขึ้น ใช้เครื่องจักรมากขึ้น ใช้สารเคมีมากขึ้น กู้หนี้ยืมสินมากขึ้น เหนื่อยมากขึ้น แต่กลับพึ่งตัวเองได้น้อย สิ่งที่ปลูกไม่ได้กิน สิ่งที่ใช้กินต้องซื้อ


ที่อ่าวปัตตานี ผู้เขียนเห็นความสุขใจของชาวประมงพื้นบ้านที่พึ่งตัวเองได้ พออยู่พอกินท่ามกลางเสียงปืนเสียงระเบิด ซึ่งเป็นความรุนแรงทางตรง


ที่เขาใหญ่-ทับลาน แม้ปลอดเสียงปืนเสียงระเบิด แต่ความรุนแรงเชิงโครงสร้างทั้งเศรษฐกิจและสังคม ความไม่เท่าเทียม สองมาตรฐาน ฯลฯ กำลังออกฤทธิ์อย่างเต็มที่

 

 

รุจน์ โกมลบุตร

 

 

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

 

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1325572115&grpid=&catid=02&subcatid=0207

บริการรับตรวจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (Grammar Proof Reading)




บริการรับตรวจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (Grammar Proof Reading) คิดอัตราค่าบริการรับตรวจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยผู้ตรวจไวยากรณ์ชาวอังกฤษ (Native Speaker) ในอัตราถูกกว่าท้องตลาด หน้าละ 50-100 บาท โดยจะขึ้นอยู่กับประเภทของเอกสารและความยากง่ายของเนื้อหา...สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับบริการรับตรวจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ได้ทางอีเมล์: hs4hnl@gmail.com หรือ ทางโทรศัพท์มือถือ 08-1261-0726 (ทศพนธ์)