วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สารเร่ง พด.6 ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ ที่มีคุณสมบัติเพิ่มประสิทธิภาพการหมักเศษอาหารในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพ

"น้ำหมักชีวภาพ พด.6" เป็นนวัตกรรมจุลินทรีย์ที่นักวิจัยของกรมพัฒนาที่ดินคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2547 และมีการทดสอบและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการใช้บำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นได้ดียิ่งขึ้น โดยปกติกรมฯ จะส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปใช้ในการทำความสะอาดคอกสัตว์ บำบัดน้ำเสียและลดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำทั่วไป แต่ในยามมีเหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทยครั้งนี้ ทางกรมฯ จึงได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดำเนินการเร่งผลิตน้ำหมักชีวภาพ พด.6 เข้าไปช่วยฟื้นฟูบำบัดน้ำเสียให้กลับมาสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด ซึ่งตั้งแต่ช่วงน้ำท่วมจนถึงขณะนี้กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นในพื้นที่ประสบอุทกภัยเขตเกษตรกรรมและชุมชน รวมพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 4 แสนไร่ ใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.6 กว่า 25 ล้านลิตร
 นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดินได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กรมพัฒนาที่ดิน (ศปภ.พด.) โดยมี นายจรูญ ยกถาวร รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านวิชาการ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ มีหน้าที่บริหารจัดการ ประสานงาน การผลิตน้ำหมักชีวภาพ พด.6 เพื่อบรรเทาแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในพื้นที่ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ของไทย โดยดำเนินการตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม จนถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2554 สามารถผลิตและแจกจ่ายน้ำหมักชีวภาพ พด.6 ในพื้นที่ประสบภัยครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดปทุมธานี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ลพบุรี สระบุรี สมุทรปราการ สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง อยุธยา กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย และอุทัยธานี รวมทั้งสิ้น 25,472,800 ลิตร หรือคิดเป็นพื้นที่บำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น 404,500 ไร่

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการพิสูจน์ผลการใช้งานว่าได้ผลจริงหรือไม่ กรมฯ จึงได้วิเคราะห์คุณภาพน้ำหลังจากใส่น้ำหมักชีวภาพ พด.6 ในพื้นที่สำนักเขตพัฒนาที่ดินเขต 1,8 และ 9 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ สุโขทัย และอุทัยธานี จำนวนจุดเก็บตัวอย่าง 258 จุด พบว่าคุณภาพน้ำในภาพรวมดีขึ้น และแหล่งน้ำส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งสี กลิ่นและความขุ่น ความเป็นกรดด่าง (pH) ระหว่างก่อนใส่และหลังใส่น้ำหมักชีวภาพ พด.6 มีความแตกต่างกันน้อยมาก ส่วนปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (DO) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ เนื่องจากในการบำบัดน้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็น กรมพัฒนาที่ดินได้ศึกษาวิจัยและผลิตสารเร่ง พด.6 ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ ที่มีคุณสมบัติเพิ่มประสิทธิภาพการหมักเศษอาหารในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพสำหรับทำความสะอาดคอกสัตว์ บำบัดน้ำเสีย ลดกลิ่นเหม็นคราบไขมันตามท่อระบายน้ำและคอกปศุสัตว์ โดยนักวิจัยของกรมพัฒนาที่ดินได้คัดแยกเชื้อจุลินทรีย์จากแหล่งธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศไทย ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยเฉพาะการย่อยสลายโปรตีน ไขมัน และเศษพืช เพื่อนำมาผลิตน้ำหมักชีวภาพ พด.6 ที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและส่งกลิ่นเหม็น

วิธีการผลิตน้ำหมักชีวภาพ พด.6 สามารถดำเนินการผลิตโดยใช้สารเร่ง พด.6 ของกรมพัฒนาที่ดินจำนวน 1 ซอง (25 กรัม) ละลายกากน้ำตาล 5 กิโลกรัม ในน้ำ 50 ลิตร และสับปะรด 5 กิโลกรัม และหมักในที่ร่มเป็นเวลา 5-7 วัน โดยน้ำหมักชีวภาพที่หมักสมบูรณ์แล้วต้องมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ไม่เกิน 4.0 สำหรับสัดส่วนการใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.6 ต่อน้ำเสีย 1:10,000 หรือใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.6 ปริมาณ 80 ลิตร ต่อการบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ 1 ไร่ ที่ระดับความลึกของน้ำ 50 เซนติเมตร

แม้ว่า เหตุการณ์อุกทกภัยได้ผ่านพ้นไปแล้วแต่กรมพัฒนาที่ดินยังไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ผลิตน้ำหมักชีวภาพ ที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็น สำหรับเกษตรกร หรือประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่หมอดินอาสา หรือสถานีพัฒนาที่ดินใกล้บ้านท่าน หรือโทรสายด่วน 1760

หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 01:48:05 น.

บทความ K SME Analysis เรื่อง การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่องเที่ยว...เพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน AEC (06 ก.พ. 55)




จาก: KSMECare Team <info@ksmecare.com>
วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2555, 12:49
หัวเรื่อง: บทความ K SME Analysis เรื่อง การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่องเที่ยว...เพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน AEC (06 ก.พ. 55)
ถึง: 



เรียน สมาชิก K SME Care

การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่อง เที่ยว...เพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน AEC

       การเปิดตลาด AEC ส่งผลให้ภาคบริการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มแข่งขันสูงขึ้น โดยเฉพาะจากการคาดการณ์ของ องค์การการท่องเที่ยวโลก(UNWTO) ที่ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2563 ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคจะกลายเป็นจุดหมายยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวทั่วโลก (มีสัดส่วนตลาดเป็น 1 ใน 4 ของตลาด ท่องเที่ยวทั่วโลก) จึงส่งผลให้ภาคธุรกิจบริการจากต่างชาติ มุ่งขยายการลงทุนเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเตรียมรองรับนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาจำนวนมากนั้น อีกทั้ง ประเทศภายในภูมิภาคอาเซียนเอง ต่างเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวแห่งใหม่ รวมถึงปรับปรุงภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องให้มีความพร้อมมากที่สุด เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในธุรกิจบริการท่องเที่ยวของไทย (Hospitality) ควรเร่งพัฒนาคุณภาพการให้บริการ โดยแสวงหาจุดยืนที่แตกต่าง จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อหาช่องว่างการให้บริการที่รายอื่นยังไม่สามารถตอบสนองได้ รวมถึงรักษาระดับมาตรฐานการให้บริการอย่างดีที่สุด เนื่องจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวใน ปัจจุบันนิยมค้นหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว และวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตนเอง โดยไม่ยึดติดกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียง หากแต่จะเลือกสรรบริการที่มีเอกลักษณ์ สร้างความประทับใจ ด้วย ระดับราคาที่เหมาะสม รวมถึงชอบที่จะทดลองในสิ่งใหม่ๆ จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการที่จะขยายส่วนแบ่งในตลาดบริการท่องเที่ยวของไทย ตลอดจนอาจก้าว เข้าสู่ตลาดอาเซียนได้ในระยะต่อไป


คลิกที่นี่เพื่ออ่านทั้งหมด


กรณีต้องการสอบถามข้อมูล
E-mail: info@ksmecare.com



หมายเหตุ: ธนาคารกสิกรไทยไม่มีนโยบายในการสอบถามข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัญชี หมายเลขบัตรเครดิต รหัสผู้ใช้ Password หรือ Pin ใด ๆ ของท่านผ่านทาง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือทางโทรศัพท์ หากท่านได้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือโทรศัพท์สอบถามข้อมูลดังกล่าว กรุณาอย่า ตอบกลับหรือให้ข้อมูลใด ๆ และกรุณาแจ้ง K-Contact Center ที่ 0 2888 8888 โดยด่วน สำหรับการเข้าสู่ระบบออนไลน์หรือเวปไซต์ของธนาคาร กรุณาพิมพ์ www.kasikornbank.com ด้วยตัวท่านเองหรือใช้ short-cut ที่ท่านสร้างด้วยตัวเอง และควรหลีกเลี่ยงการ click link จากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และเวปไซต์อื่น

อีเมล์ฉบับนี้เป็นเพียงการแจ้งข่าวสารจากทางธนาคารเท่านั้น หากท่านต้องการระงับข่าวสารในช่องทางนี้จากทางธนาคาร กรุณาพิมพ์หัวเรื่อง "Unsubscribe" และตอบกลับมายังอีเมล์ฉบับนี้ หรือส่งมาที่ info@ksmecare.com สอบถามเพิ่มเติมหรือสนใจบริการของทางธนาคาร โปรดติดต่อ: K-Contact Center 0 2888 8888