วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

กว่าจะมีบ้านหลังแรก “นก” ต้องเรียนรู้ศิลปะสร้างรังก่อน

 
กว่าจะมีบ้านหลังแรก "นก" ต้องเรียนรู้ศิลปะสร้างรังก่อน
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
นกกระจาบสีสวยในแอฟริกาสร้างรังจากการเรียนรู้

ทีมวิจัยศึกษาพฤติกรรมการสร้างรังของนกในแอฟริกา

หลายคนอาจคิดว่าความสามารถในการสร้างรังของนกนั้นเป็นสัญชาตญาณติดตัวมาตั้งแต่เกิด หากแต่การศึกษาล่าสุดของทีมวิจัยสก็อตแลนด์พบว่า "นกกระจาบ" พันธุ์ท้องถิ่นในแอฟริกานั้นต้องเรียนรู้ศิลปะในการสร้างรังของตัวเอง 
       
       ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ (University of Edinburgh) มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (University of Glasgow) และ มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ (University of St.Andrews) ในสก็อตแลนด์ สหราชอาณาจักร ร่วมกันศึกษานกกระจาบหน้ากากแอฟริกัน (southern masked weaver) ซึ่งสร้างรังได้อย่างสลับซับซ้อนและหลากหลายภายในฤดูกาลเดียว
       
       บีบีซีนิวส์รายงานว่า ทีมวิจัยได้ร่วมกันศึกษาภาพยนตร์ชีวิตนกกระจาบดังกล่าว ที่ถ่ายทำโดยนักวิทยาศาสตร์ในประเทศบอตสวานา ทวีปแอฟริกา ซึ่ง ดร.แพทริก วอลช์ (Dr.Patrick Walsh) จากเอดินบะระ สมาชิกทีมวิจัยระบุว่า งานวิจัยดังกล่าวได้เผยให้ถึงความสำคัญที่ชัดเจนของ "ประสบการณ์" และการศึกษาดังกล่าวได้เผยแพร่ลงวารสารวิชาการบีฮาฟวิเออรัลโปรเซสเสสเจอร์นัล (Behavioural Processes journal)
       
       นกแต่ละตัวมีเทคนิคในการสร้างที่หลากหลายและแตกต่างกัน และมีตัวอย่างว่านกสร้างรังจากลักษณะวนซ้ายไปขวา มากพอๆ กับวนจากขวาไปซ้าย และยิ่งนกมีประสบการณ์มากก็จะทำใบหญ้าสำหรับสร้างรังตกหล่นน้อยลง ซึ่ง ดร.วอลช์ เสริมว่า หากนกสร้างรังตามลักษณะที่กำหนดทางพันธุกรรม เราจะต้องพบว่านกทังหมดนั้นสร้างรังด้วยวิธีเดียวกันทุกครั้ง แต่ไม่ปรากฏกรณีดังกล่าว
       
       "นกกระจาบหน้ากากได้แสดงความหลากหลายในการสร้างรังที่เผยให้เห็นถึงความสำคัญที่ชัดเจนของประสบการณ์ ไม่เว้นกระทั่งนก การฝึกหัดทำให้เกิดความสมบูรณ์แบบ" ดร.วอลช์ให้ความเห็น แต่เขาก็กำชับว่าสิ่งที่เขาและทีมศึกษานั้นไม่ได้หมายความว่านกทุกชนิดต้องอาศัยประสบการณ์เพื่อสร้างรัง
       
       "มันค่อนข้างง่ายที่จะสรุปว่ารังนกทั้งหมดนั้นสร้างขึ้นโดยต้องอาศัยประสบการณ์บางอย่างของนก เพราะว่ารังของนกชนิดนี้ค่อนข้างมีรูปแบบที่หลากหลายมากกว่านกชนิดอื่นๆ ตัวอย่างเช่น รังของนกนางนวล เกิดการทำหลุมตื้นๆ บนพื้นดินหรือทราย ซึ่งในกรณีอาจอาศัยประสบการณ์เพียงเล็กน้อยเพื่อสร้างรัง เป็นต้น แต่การศึกษานี้ก็ค่อนข้างค้านข้อสรุปว่ารังนกทั้งหมดนั้นสร้างขึ้นโดยที่ไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้เลย" เดลีเมลระบุความเห็นของ ดร.วอลช์
       
       เหตุผลที่ทีมวิจัยเลือกศึกษาพฤติกรรมของนกแอฟริกันที่มีสีสันสดใสชนิดนี้ เพราะเป็นนกที่สร้างรังได้อย่างซับซ้อนซึ่งแสดงถึงความสามารถในการคิดและเรียนรู้ และสร้างรังมากถึงหลายสิบรังระหว่างฤดูสืบพันธุ์ ทำให้ทีมวิจัยจับตาดูลักษณะการสร้างรังที่แตกต่างกันของนกชนิดเดียวกันได้

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000122898

Shipwreck of SS Gairsoppa discovered with £150m silver haul

Ma Orm Srei

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 14 กันยายน 2554 ณ ห้องภูวนาถประชาธิปก อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

 
สัมมนาระดมความคิดเห็น ถก5ร่างกฎหมายท้องถิ่นPDF พิมพ์ อีเมล์

Imageวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่นร่วมกับสำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า จัดสัมมนาระดมความคิดเห็น เรื่อง "ถก 5 ร่างกฎหมายท้องถิ่น" เพื่อศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น 5 ฉบับที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา ได้แก่ ร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่างกฎหมายเกี่ยวกับรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่างกฎหมายเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่น และร่างกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Image

           สถาบันพระปกเกล้า เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องการปกครองท้องถิ่น และการกระจายอำนาจที่เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตย จึงได้จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นนี้ขึ้น เพื่อนำผลจากการสัมมนาในครั้งนี้ ประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายของสมาชิกรัฐสภา ตลอดจนร่วมหาทิศทางในการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นและก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนมากที่สุด โดยภายในงานมีผู้ทรงคุณวุฒิและกลุ่มนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านการปกครองและการกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่น ร่วมนำเสนอและให้ข้อคิดเห็นหลากหลายท่าน  อาทิ รองศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย  รองศาสตราจารย์ อัษฎางค์ ปาณิกบุตร  ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์  รองศาสตราจารย์ ปธาน สุวรรณมงคล รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์    พวงงาม  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์  อาจารย์ ดร.วสันต์ เหลืองประภัสร์ อาจารย์ ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ ดร.อรัญ โสตถิพันธุ์  และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผล ณ ห้องภูวนาถประชาธิปก อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ เมื่อวันอังคารที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา

ชรัส เฟื่องอารมย์ - ปะการัง

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

วันที่ 20 กันยายน 2554 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ

สัมมนาระดมความเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ข้าว วันที่ 20 กันยายน 2554 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ
วันที่ 05 / 09 / 2554

                สำนักมาตรฐานสินค้าและระบบคุณภาพ กำหนดจัดสัมมนาระดมความเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ข้าว ในวันที่ 20 กันยายน 2554 ณ ห้องกินนรี 1 โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ

           1.รายละเอียดเพิ่มเติม

           2.กำหนดการสัมมนา

           3.แบบตอบรับเข้าร่วมสัมมนา

http://www.acfs.go.th/news_detail.php?ntype=06&id=9752

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

เปิดศักราช 2553 คุยกับคนสร้างสื่อใหม่ ตอนที่ 3 Bangkok Pundit Mon, 2010-01-25 18:18

 

เปิดศักราช 2553 คุยกับคนสร้างสื่อใหม่ ตอนที่ 3 Bangkok Pundit

ความตื่นตัวของการมีส่วนร่วมทางสังคมผ่านโลกออนไลน์ที่เติบโตขึ้น ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารและการแสดงพลังทางสังคมของผู้คนทั้งในประเทศไทยและระดับสากลอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากจำนวนของ citizen journalist  หรือ cyber activist ที่คืบคลานเข้ามาสู่โลกแห่งการสื่อสารแบบใหม่นี้ ไม่ว่าคุณจะสนองตอบต่อความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ด้วยความหวาดระแวงคลางแคลงใจ หรือชื่นชมยินดีก็ตาม มันก็เข้ามามีบทบาทในโลกจริงแล้วอย่างไม่อาจปฏิเสธได้

การตรากฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นตัวอย่างชั้นดีของการตอบสนองจากรัฐต่อช่องทางการสื่อสารใหม่นี้ ขณะที่สื่อหนังสือพิมพ์หลักของประเทศต้องปรับกลยุทธ์แบ่งสรรเนื้อหาออนไลน์กับฉบับตีพิมพ์อย่างชัดเจน หลังยอดขายเริ่มส่งสัญญาณในทางลบ

ไม่เพียงการเปลี่ยนแปลงเรื่องผลตอบแทน หากแต่วัฒนธรรมใหม่ที่มาพร้อมอินเตอร์เน็ตคือ ไม่มีใครเป็นผู้ยึดกุมความถูกต้อง สิ่งนี้ท้าทายขนบธรรมเนียมการสื่อสารแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง ที่เชื่อว่าสื่อสามารถกำหนดวาระทางสังคม ปรากฏการณ์ข่าวเจาะจากเว็บพันทิปโดยผู้เล่นอินเตอร์เน็ต เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนว่า ผู้เล่นอินเตอร์เน็ตสามารถกำหนดวาระสื่อได้เช่นกัน

ประชาไทเปิดศักราชใหม่ด้วยการแลกเปลี่ยนมุมมองกับเหล่าคนทำสื่อในโลกไซเบอร์ ว่าเขานิยามการทำงานของตัวเองอย่างไร อะไรเป็นแรงผลักดันให้หันมาใช้สื่อใหม่เหล่านี้ เขามีข้อสังเกตอะไรบ้างต่อพื้นที่ออนไลน์ และมันช่วยเติมเต็มเสรีภาพในการสื่อสารได้จริงหรือไม่ เพียงใด

000

บล็อก เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดใหม่ที่เกิดมาได้หลายปี ทั้งถูกใช้เป็นไดอารีระบายความในใจเรื่อยไปถึงขั้นเป็นพื้นที่สื่อสารสำหรับการเคลื่อนไหวทางสังคมแล้วแต่ผู้ใช้งานประสงค์จะให้มันเป็นและในบางประเทศก็ถูกใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

ประชาไทสนทนากับผู้ก่อตั้งบล็อกภาษาอังกฤษที่อุดมไปด้วยข่าวสารในประเทศไทยhttp://www.asiancorrespondent.com/bangkok-pundit-blog ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2548 โดยผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม แต่เลือกเรียกชื่อแทนตัวเองว่า Bangkok Pundit หรืออย่างย่อๆ ว่า BP เขาติดตามเรื่องราวในการเมืองไทยอย่างใกล้ชิดในฐานะคนทำวิจัยคนหนึ่ง

พื้นที่ส่วนใหญ่ของ BP นั้นดูเหมือนจะถูกยึดกุมด้วยความเป็นไปทางการเมืองไทยและสถานการณ์สิทธิเสรีภาพในไทยโดยแต่ละประเด็นที่ BP เลือกมานำเสนอนั้น เป็นเรื่อง "ฮอต" ในกระแสชนิดหายใจรดต้นคอทั้งสื่อกระแสหลักและกระแสทางเลือกของไทยกันเลยทีเดียว แน่ล่ะ เพราะข่าวสารที่เขานำเสนอนั้น ส่วนใหญ่เป็นการแปลมาจากสื่อภาษาไทยโดยตรงบล็อกของเขาจึงเป็นเสมือนพื้นที่ให้กับผู้ที่ไม่สันทัดภาษาไทยทั้งหลายซึ่งต้องการติดตามสถานการณ์ในแบบที่คนไทยได้รู้

เจ้าของบล็อกอ้างอิงแหล่งที่มาในทุกๆ ข่าวที่นำมาโพสต์ และโพสต์ความเห็นของตัวเองลงไปท้ายข่าวเสมอๆ โดยกำกับส่วนที่เป็นความเห็นของตัวเองไว้หน้าข้อความว่า "BP:" ซึ่งเป็นจุดสนใจอย่างหนึ่งของคนที่ติดตามข่าวสารจากบล็อกแห่งนี้

ประชาไทพูดคุยกับเขาในฐานะที่เป็นชาวต่างชาติคนหนึ่งผู้สนใจความเป็นไปในประเทศไทยถึงขั้นที่ทำบล็อกออกมาเป็นภาษาอังกฤษให้คนที่ไม่ถนัดภาษาไทยได้ติดตามข่าวเมืองไทยด้วยเนื้อหาไทยๆ จากสื่อไทยเอง

เขาค่อนข้างระมัดระวังตัวและขอไม่เปิดเผยตัวรวมถึงไม่ตอบในบางคำถามที่เราถาม เราคุยกันผ่านอีเมล์ ประชาไทขอคงบรรยากาศการสนทนากับ BP ไว้ดังที่ปรากฏในต้นฉบับอีเมล์

ประชาไท: ทำไมคุณจึงให้ความสำคัญกับเรื่องราวในเมืองไทยถึงขนาดที่สร้างบล็อกบางกอกบัณฑิต คุณมองเห็นจุดอ่อนของสื่อภาคภาษาอังกฤษที่นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับเมืองไทยหรือเปล่า
BP: 1 หากจะไปเทียบกับหนังสือพิมพ์ที่เป็นภาษาไทย BPไม่พอใจสื่อที่นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษคือ เดอะเนชั่น และบางกอกโพสต์เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เพราะจะมีหลายประเด็นที่สื่อในภาษาไทยพูดถึง แต่ไม่มีการพูดถึงในสื่อที่เป็นภาษาอังกฤษ BPก็ไม่ทราบว่าเพราะอะไร แต่คิดว่าบางประเด็นที่สื่อภาษาไทยพูดถึงจะมีข้อมูลที่น่าสนใจและจะทำให้คนต่างชาติเข้าใจการเมืองไทยมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่เริ่มทำบล็อกบางกอกบัณฑิต

2. ในปี 2548 ที่ BP เริ่มตั้งบล็อกขึ้นมา BPกำลังทำวิจัยเกี่ยวกับการเมืองไทยในขณะนั้น รวมทั้งเรื่องสถานการณ์ในภาคใต้ ซึ่งการนำเสนอเรื่องราวผ่านการเขียนทุกวัน จึงเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ BPสามารถพัฒนาตนเองทางด้านการเขียนอีกทางหนึ่งด้วย บางทีสิ่งที่เขียนในบล็อกอาจจะถือว่าเป็นร่างของงานวิจัยของ BP และหากได้เขียนลงไปก็จะได้ feedback อีกด้วย โดยผู้อ่านจะ comment ให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือเสนอมุมมองด้านอื่นๆ ในหัวข้อที่ BP เขียน

ประชาไท: คุณจะอธิบายว่า "บางกอกบัณฑิต" คืออะไร เป็นสื่อหรือเปล่า หรือเป็น New Media หรือเป็นพื้นที่ส่วนตัวของคุณ
BP: ความจริงอยากจะอธิบายว่าทำไม BP จึงตั้งชื่อบล็อกว่า bangkokpundit

1. pundit ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลและความคิดเห็น อันที่จริง น่าจะตั้งชื่อเป็น thailandpundit เนื่องจากเป็นบล็อกที่ให้ข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศไทย ไม่ใช่แค่ bangkok ที่เดียว แต่คำว่า บัณฑิต ในภาษาไทย หมายถึง ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญา ซึ่งเป็นคำที่คนไทยใช้กันและมีความหมายเดียวกันกับภาษาอังกฤษ ตามรากศัพท์ดั้งเดิม BP จึงเห็นว่าเป็นคำที่มีความหมายตามที่ BP อยากให้ผู้อ่านเข้าใจ

2. BP ไม่ทราบว่า bangkokpundit จะเป็นสื่อใหม่หรือไม่ แต่ bangkokpundit ก็เป็นบล็อกที่ให้ทั้งข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองไทย และสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ประชาไท: จำนวนคนที่เข้ามาชมบล็อกของคุณมีประมาณเท่าไหร่ และในช่วงเวลาไหนหรือในสถานการณ์ใดที่จำนวนคนเข้าชมเพิ่มสูงขึ้น
BP:  ตั้งแต่ย้ายบล็อก จึงไม่ทราบจำนวนคนที่เข้ามาดู แต่จำนวนครั้งที่คนเข้ามาดูนั้นจะเฉลี่ยประมาณ 5,000 ครั้งต่อวัน หากเป็นเสาร์ และอาทิตย์ จำนวนจะเฉลี่ยที่ 2,000 -3,000 ครั้งต่อวัน

แต่ถ้าเป็นช่วงเวลาที่สถานการณ์การเมืองร้อน เช่น ตอนที่พันธมิตรยึดสนามบิน จำนวนครั้งที่คนเข้ามาดูนั้นถึงหลักหมื่นต่อวัน

ประชาไท: คุณเคยถูกคุกคามโดยหน่วยงานของรัฐบ้างหรือไม่ และเคยโดนโจมตีทางเทคนิคบ้างหรือไม่ บ่อยแค่ไหน
BP: ไม่เคย แต่อาจจะมีบ้างที่ผู้เข้ามาชมเขียนด่า หรือข่มขู่ แต่ BP ก็ไม่ได้สนใจ

ประชาไท: คุณมักจะมีความเห็นตบท้ายข่าวที่คุณนำเสนอ ถือเป็นวัฒนธรรมใหม่ของการนำเสนอข่าวสาร ทำไมคุณจึงเสนอความเห็นของตัวเองในตอนท้ายของข่าวต่างๆ (สื่อทั่วไปอธิบายว่า ผู้สื่อข่าวมีหลักการว่าจะไม่เสนอความเห็นของตัวเองลงไปในข่าวสาร)
BP: เพราะว่าอยากจะแยก fact กับ opinion จึงนำเสนอความคิดเห็นตอนท้าย และจะนำหน้าด้วย BP เพื่อย้ำว่าเป็นความคิดเห็นของ BP เอง   และ BPก็ไม่เชื่อว่าผู้สื่อข่าวอื่นๆไม่นำเสนอความคิดเห็นในข่าวสารเช่นกัน

ประชาไท: คุณคิดว่าบล็อกของคุณมีส่วนในการสร้างพื้นที่เสรีภาพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือไม่ หรือมีส่วนในการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เสพข่าวสารในเมืองไทยหรือไม่
BP: ไม่ทราบ เพราะ BP ไม่สามารถให้คำวิจารณ์ตัว BP ได้ หากแต่ต้องเป็นบุคคลภายนอกมองเห็นว่าบล็อกของ BP เป็นอย่างไร

ประชาไท:  คุณมอนิเตอร์ข่าวในเมืองไทยเยอะมากในแต่ละวัน และสามารถอัพโหลดบล็อกได้เกือบทั้งวัน คุณทำได้อย่างไร คุณถือว่าบล็อกนี้เป็นงานหลักของคุณหรือเปล่า มีผู้อ่านมากมายที่สงสัยว่าคุณทำงานอะไรเป็นหลัก และทำไมจึงสามารถให้เวลากับบล็อกได้มากขนาดนี้
BP: 1. ที่มองว่าอัพโหลดบล็อกทั้งวันนั้น ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของบล็อกที่จะโพสต์นั้น จะทำไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะสังเกตได้ว่าเป็นการโพสต์ตรงเวลาที่ 6 นาฬิกา หรือ 7 นาฬิกา เป็นต้น แต่ไม่ใช่ว่า BP จะนั่งรอเพื่อโพสต์ในเวลานั้น แต่มีการตั้งการโพสต์ไว้เป็นอัตโนมัติ

2. เนื่องจาก BP มีความสนใจในการทำบล็อกนี้อย่างมาก และถือว่าเป็นงานอดิเรก เหมือนคนที่ติดการเล่นเว็บ อย่างเช่น facebook หรือ เว็บอื่นๆ ใช้เวลาเล่นเว็บนั้นเป็นหลายๆชั่วโมงได้ แต่ BP จะใช้เวลาอ่านหนังสือพิมพ์และนำมาเขียนบล็อก

ประชาไท: ในความเห็นของคุณข่าวใดเป็นข่าวที่สำคัญมากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา เพราะเหตุใด
BP: ตอนช่วงเวลาสงกรานต์ปีที่แล้ว ที่เกิดเหตุการณ์ม็อบเสื้อแดง

ประชาไท: สำหรับปี 2553 ประเด็นไหนบ้างจะเป็นประเด็นที่คุณจับตามอง และนำเสนอในบล็อก ขอตัวอย่าง 3 ประเด็นแรกที่คุณเห็นว่าสำคัญที่สุด
BP: 1. เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2. การยึดทรัพย์ของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และ หลังจากนั้นพันตำรวจโททักษิณและเสื้อแดงจะทำอะไรต่อไป
3. ปีนี้ นายกฯอภิสิทธิ์ จะยุบสภาหรือไม่

ประชาไท: มีการพูดกันว่าสิทธิเสรีภาพสื่อลดลง คุณรู้สึกเช่นนั้นด้วยไหม เช่น ระมัดระวังมากขึ้นในการเลือกประเด็นมานำเสนอ
BP: BP ไม่ได้คิดว่าสื่อโดยทั่วไป และสื่อทางอินเตอร์เน็ตมีสิทธิเสรีภาพลดลง  แต่ไม่ได้บอกว่ามากขึ้นหรือมีเสรีภาพจริง เพราะ BP คิดว่าไม่ได้มีเสรีภาพจริงมานานแล้ว หากแต่ช่วงเวลานี้เหมือนเป็นช่วงเวลาทดสอบ ว่าสื่อมีเสรีภาพในการที่จะนำเสนอมากแค่ไหน

แต่บางมุมมอง อาจเห็นว่าสื่อมีเสรีภาพลดลง เพราะในยุค twitter แบบนี้ ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถปิดบังได้  เช่น คนที่ใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ทถูกจับเข้าคุก หรือถูกข่มขู่ ภายในไม่ถึงชั่วโมงก็กลายเป็นประเด็นร้อน มีคนตั้งกระทู้ เขียน twitter ทำบล็อกในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งอาจจะทำให้คนคิดว่าสื่อมีสิทธิเสรีภาพลดลง

ประชาไท: คุณคิดว่าพื้นที่ทางอินเตอร์เน็ตจะเป็นพื้นที่เสรีภาพในการแสดงความเห็นให้คนไทยได้ไหม หลังจากที่ประเทศไทยเริ่มมีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และรัฐบาลให้ความสำคัญมากกับการมอนิเตอร์พื้นที่ออนไลน์
BP: ได้ แต่มีบางเรื่องที่น่ากลัว เช่น ที่คุณจีรนุชถูกจับ หรือคนที่แปลข่าวของสำนักงานข่าว Bloomberg ถูกจับ ซึ่งถือว่าเป็นกรณีที่น่ากลัวมากที่สุด เพราะว่าในขณะที่ ข่าวที่เป็นภาษาอังกฤษยังไม่ถูก blocked และคนก็ยังเข้าไปอ่านได้ พอแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ผู้ที่นำเสนอข่าวก็โดนจับ และไม่ใช่จับแบบธรรมดา แต่เป็นการจับที่สนามบินพร้อมเรียกสื่อมา ถ่ายรูป นำเสนอภาพและชื่อลงในหนังสือพิมพ์ ซึ่ง BP คิดว่านี่เป็นการเตือนว่าหากคุณแปลข่าวที่ไม่ควร คุณก็จะโดนแบบเดียวกัน

ประชาไท: จากการที่คุณมอนิเตอร์สื่อไทยจำนวนมาก คุณมองว่าคุณภาพของสื่อไทยเป็นอย่างไรทั้งในเรื่องการนำเสนอข้อเท็จจริง และความมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร
BP: BP คิดว่าคุณภาพของสื่อไทยห่วย 
1. สื่อไทย ไม่ค่อยอ้างว่าได้ข้อมูลมาจากที่ไหน มักจะพูดว่า "มีรายงานว่า" โดยไม่ระบุว่ามาจากใคร สื่อไหน หรือผู้ใด และพอหนังสือพิมพ์บางฉบับลงข่าวไป อีกฉบับก็เหมือนลอกกันมา และข้อมูลก็กระจายออกไป โดยไม่ทราบว่าข้อมูลนั้น แท้จริงมาจากไหน

2. หากลงข้อมูลผิด จะไม่มีการทำ Correction เพื่อแก้ไข จะมีน้อยมากที่จะทำ ซึ่งเหมือนกับว่าไม่มีใครจะไปเช็ค fact เลยว่ามีความจริงแค่ไหน และในเมื่อว่าคนเขียน รู้ว่าไม่มีใครจะไปเช็ค fact ก็เลยคิดว่าเขียนมั่วได้ ก็เลยมั่วกันหมด คนที่เขียนวิเคราะห์ก็มั่วตามกันไปอีก

3. เวลาคนในข่าวพูดอะไร ก็จะลงสิ่งที่คนนั้นพูด โดยไม่มี fact check  หากคุณนาธาน โอมาน บอกจบจากฮาร์เวิร์ด หนังสือทุกฉบับก็จะเขียนบอกว่าจบจากฮาร์เวิร์ด แต่ก็จะไม่มีใครไปเช็คก่อน และหากว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง ก็ยากที่จะมาทำ correction และถ้าไม่มีคนมาป้อนข้อมูลถึงปาก คนเขียนก็คงจะไม่มีงานทำ เพราะไม่ได้คิดจะออกไปหาข้อมูลด้วยตัวเอง
การทำ fact check ไม่ได้เป็นการนำเสนอความคิดเห็น แต่หมายถึงการเสนอข่าวอย่างรอบคอบ

ประชาไท: ขณะนี้ในเมืองไทยมีการพูดวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของสื่อ และสื่อใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นสื่อเลือกข้าง หรือเป็นสื่อที่รับใช้แนวคิดทางการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งฝ่ายเหลืองและฝ่ายแดง คุณมีมุมมองอย่างไรเกี่ยวกับภาวะของสื่อไทยแบบนี้ มันช่วยส่งเสริมบรรยากาศประชาธิปไตยมากขึ้นไหม หรือว่ามันลดทอนคุณภาพเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร
BP: ไม่ตอบ

ประชาไท:  "ฝรั่ง" หลายคนที่ติดตามเรื่องราวในเมืองไทย มักจะพยายามประเมินว่าเมืองไทยจะมีความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างครั้งใหญ่ในอนาคตอันใกล้ บางคนก็บอกไม่เกิน 3 ปี บางคนบอกไม่เกิน 5 ปี บางคนก็บอกภายใน 20 ปี คุณล่ะ ประเมินว่าเมืองไทยจะมีโอกาสที่จะเปลี่ยนไปไหม และเปลี่ยนไปอย่างไร และในช่วงเวลาใกล้หรือไกลแค่ไหน
BP: ขออนุญาตไม่ออกความเห็น

 

 

รายงาน: 11 นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในคุกกรุงเทพฯ ปี 2011 Tue, 2011-06-21 20:34

 

รายงาน: 11 นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในคุกกรุงเทพฯ ปี 2011

 

ช่วงไม่กี่เดือนมานี้ "มาตรา 112" ถูกพูดถึงมากขึ้น ทั้งกระแสต่อต้าน สนับสนุน วิพากษ์วิจารณ์ หรือกระทั่งการไล่ล่า

ขณะเดียวกันการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาก็ยังคงดำเนินไปอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่ง พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ออกโรงย้ำเอง "แผนผังล้มเจ้า" มีที่มาที่ไปหาใช่การมั่ว พร้อมย้ำว่าดีเอสไอมีคดีที่กำลังสอบสวนอยู่ จำนวน 20 คดี มีหมายจับ 8 คดี และได้มอบตัวแล้ว 4 คดี !

เรื่องตัวเลขผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดอย่างชัดเจน สื่อมวลชนกระทั่งสาธารณชน ไม่มีทางทราบได้ว่าตำรวจทั้ง 2 หน่วยหลักที่ดูแลเรื่องนี้ กองปราบฯ และดีเอสไอ จับกุมใครไว้บ้าง จำนวนเท่าไร ดำเนินการกับพวกเขาอย่างไร ขั้นตอนไหน และยังมีคดีที่เตรียมดำเนินการในมือมากน้อยแค่ไหน 
เหล่านี้ยังเป็นปริศนาดำมืด สำหรับข้อหา "อาชญากรทางความคิด"

หากสำรวจเท่าที่เป็นข่าว จะพบว่ามีผู้ถูกจับกุมและถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำโดยไม่ได้รับการประกันตัว เฉพาะในกรุงเทพฯ ณ ปัจจุบัน ประมาณ 11 ราย ได้แก่ สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) ,สมยศ พฤกษาเกษมสุข, ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล, อำพล ตั้งนพกุล, สุริยันต์ กกเปือย, ณัฐ สัตยาภรณ์พิสุทธิ์, เสถียร รัตนวงศ์, Joe Gordon, สุชาติ นาคบางไทร, วันชัย แซ่ตัน และ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล

มีรายละเอียดของคดีและเรื่องราวความเป็นมาดังนี้

เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

แดน 1

1. สมยศ พฤกษาเกษมสุข

ถูกจับกุม:

30 เมษายน 2554 บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ด่านอรัญประเทศ (ดีเอสไอ)

ความผิด:

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา (อยู่ระหว่างต่อสู้คดี)

สาเหตุ:

เป็นเจ้าของและบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin : เสียงทักษิณ ซึ่งเผยแพร่บทความที่ถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหาบางส่วนผิด มาตรา 112 ซึ่งกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยที่สมยศสังกัดระบุว่า บทความดังกล่าวคือ "6 ตุลาแห่ง พ.ศ.2553" ในคอลัมน์คมความคิด โดย จิตร พลจันทร์ ตีพิมพ์ในนิตยสารดังกล่าวใน ฉบับที่ 16 ปักษ์แรก มีนาคม 2553

ความคืบหน้า:

  • พนักงานสอบสวนของฝากขังผลัดที่4 จนถึงวันที่ 18 มิ.ย. นี้
  • ที่ผ่านมายื่นประกันตัวไป 2 ครั้ง ในชั้นพนักงานสอบสวน และชั้นศาล โดยใช้ที่ดินเป็นหลักทรัพย์มูลค่ากว่า 1.6 ล้านบาท ศาลยกคำร้องโดยให้เหตุผลว่าเป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง กระทบสถาบันอันเป็นที่เทิดทูนของประชาชน กระทบต่อจิตใจประชาชนโดยรวม และมีพฤติกรรมหลบหนี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

2. สุชาติ นาคบางไทร หรือ วราวุธ ฐานังกรณ์

ถูกจับกุม:

1 พฤศจิกายน 2553 (กองบังคับการปราบปราม)

ความผิด:

มาตรา 112 ศาลตัดสินจำคุก 6 ปี สารภาพลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 3 ปี

สาเหตุ:

กล่าวปราศรัยบนเวที นปช. ที่สนามหลวง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 โดยพูดใส่ความสมเด็จพระบรมราชนินีนารถ

ความคืบหน้า:

-

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

แดน 4

3. ณัฐ (สงวนนามสกุล)

ถูกจับกุม:

15 ตุลาคม 2552 (ดีเอสไอ)

ความผิด:

  • มาตรา 14(2)(3)(4)(5) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
  • มาตรา 112
  • ศาลตัดสินจำคุก 9 ปี สารภาพลดโทษเหลือ 3 ปี 18 เดือน

สาเหตุ:

คลิปเข้าข่ายหมิ่นทางอีเมล์ให้เพื่อนต่างชาติ นายนายอีมิลิโอ เอสเทแบน (Emilio Esteban) อายุ 46 ปี ชาวอังกฤษ อาศัยอยู่ที่ประเทศสเปน ซึ่งตำรวจเชื่อว่าคือผู้ใช้นามแฝงว่า stoplesemajeste ซึ่งร่วมกับนายสุวิชา ท่าค้อ โพสต์คลิปขึ้น youtube และเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา112 ตำรวจจึงขออนุญาตศาลเข้าถึงข้อมูลอีเมล์ของอีมิลิโอ และเจอการส่งอีเมล์ของณัฐที่ส่งให้อีมิลิโอจำนวน 3 คลิป

ความคืบหน้า:

  • ถูกจับวันที่ 15 ต.ค.52 ถูกฝากขังจนกระทั่งได้ประกันตัวในวันที่ 27 ต.ค.52
  • ในการจับกุมตัวครั้งแรกตำรวจแจ้งข้อหาผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากนั้นในวันที่ 30 พ.ย.52 ตำรวจแจ้งข้อหาเพิ่ม คือ ม.112
  • 14 ธ.ค.52 พิพากษาตัดสินจำคุก 9 ปี รับสารภาพ เหลือ 4 ปี 6 เดือน (หรือ 3 ปี 18 เดือน)
  • อายุประมาณ 29 ปี เรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ไม่จบ ทำอาชีพค้าขายของเล็กๆ น้อยๆ ทางอินเตอร์เน็ต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

4. วันชัย (สงวนนามสกุล)

ถูกจับกุม:

ไม่ทราบแน่ชัด

ความผิด:

มาตรา 112, มาตรา 33 
ศาลตัดสินจำคุก 15 ปี จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนและข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบในชั้นพิจารณาก็ถือได้ว่าเป็นการรับว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดตามฟ้อง เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาทางคดีอยู่บ้าง กรณีมีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสาม เหลือ 10 ปี ริบของกลางทั้งหมด

สาเหตุ:

แจกจ่ายเอกสารเข้าข่ายหมิ่นฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2552

ความคืบหน้า:

  • สัญชาติไทย-สิงคโปร์ อายุ 55 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

-

 

แดน 6

5. สุรชัย แซ่ด่าน

ถูกจับกุม:

22 กุมภาพันธ์ 2554 (กองบัญชาการตำรวจนครบาล 4)

ความผิด:

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา (อยู่ระหว่างต่อสู้คดี)

สาเหตุ:

การพูดในงานเสวนา ตาสว่างกว่าเดิม ครั้งที่ 2 ที่อิมพีเรียล ลาดพร้าว เมื่อเดือนธันวาคม 2553 โดยขึ้นเวทีเสวนาร่วมกับอีก 3 ส.คือ สุทิน คลังแสง, สุนัย จุลพงศธร, สมยศ พฤกษาเกษมสุข

ความคืบหน้า:

  • 6 มิ.ย.54 ศาลนัดพร้อมตรวจพยานหลักฐาน อัยการแถลงสืบพยาน 10 ปาก ทนายจำเลยสืบพยาน 23 ปาก
  • ศาลนัดสืบพยานโจทก์ วันที่ 24, 25, 26, 27 ม.ค.2555 สืบพยานจำเลย วันที่ 31 ม.ค., 1 ,2,3,7,8 ก.พ.2555
  • ญาติยื่นประกัน 2 ครั้งด้วยหลักทรัพย์ 2 ล้านบาท ศาลยกคำร้องเนื่องจากเป็นคดีที่มีโทษสูง ทำให้สถาบันเสื่อมเสีย และมีการกระทำกันเป็นเครือข่าย
  • ผู้ต้องหาอายุ 68 ปี มีปัญหาสุขภาพเนื่องจากเคยทำบายพาสหัวใจ ขับถ่ายลำบาก และมีปัญหาปวดตามกระดูกและข้อ
  • สุรชัย ยังมีคดีความผิดฐาน 112 อีกคดีหนึ่งเมื่อปี 2552 จากการปราศรัยที่สนามหลวงปลายปี 51แต่เป็นเพียงหมายเรียกให้รับทราบข้อกล่าวหาไม่ได้มีการจับกุม ทั้งนี้ คดีดังกล่าวจะมีการสืบพยานโจทก์และจำเลยในวันที่ 30,31 ต.ค.54, 1, 2, 6, 7 ก.ย.54

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

6. เสถียร (สงวนนามสกุล)

ถูกจับกุม:

19 มีนาคม 2554

ความผิด:

มาตรา 112 (อยู่ระหว่างต่อสู้คดี)

สาเหตุ:

ถูกกล่าวหาว่าขายซีดีที่เนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นฯ ตำรวจล่อซื้อ และยึดของกลางไปประมาณ 20 แผ่น

ความคืบหน้า:

  • ศาลนัดพร้อมวันที่ 4 ก.ค. นี้
  • เป็นอดีตการ์ดส่วนกลางของ นปช. เริ่มชุมนุมกับ นปช.ตั้งแต่ปี 2552 ก่อนหน้านั้นมีอาชีพเป็นพ่อครัวโรงแรม แล้วลาออกมาชุมนุม ขณะถูกจับกุมทำอาชีพขายของ สินค้าเสื้อแดง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

7. Joe Gordon (เลอพงษ์ )

ถูกจับกุม:

24 พฤษภาคม 2554 ที่บ้านพักจังหวัดนครราชสีมา (ดีเอสไอ)

ความผิด:

มาตรา 112, 116 ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 14 (2)(3) พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 
(อยู่ระหว่างต่อสู้คดี)

สาเหตุ:

ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้โพสต์ลิงโฆษณาในเว็บบอร์ด samesky เพื่อให้ผู้คนเชื่อมต่อไปอ่านหนังสือ The King Never Smiles (TKNS) ซึ่งทางการไทยระบุว่าเป็นหนังสือต้องห้าม ในบล็อกของผู้ถูกกล่าวหา และปรากฏบทความที่เข้าข่ายผิดกฎหมายดังกล่าว เหตุเกิดเมื่อปี 2550-2552

ความคืบหน้า:

  • ยื่นประกัน 2 ครั้ง ศาลยกคำร้องเพราะเห็นว่าเป็นคดีร้ายแรง
  • มีสัญชาติไทย-อเมริกัน และเดินทางเข้าประเทศไทยด้วยพาสปอร์ตอเมริกัน
  • มีโรคประจำตัวคือความดันสูงและเก๊าท์
  • อยู่อเมริกาเกือบ 30 ปี และเพิ่งเดินทางเข้ามาพักรักษาตัวในประเทศไทยราว 2 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

แดน 8

8. ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล

ถูกจับกุม:

1 เมษายน 2553 (กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง)

ความผิด:

มาตรา 112
มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 
ศาลตัดสินจำคุก 13 ปี (อยู่ระหว่างอุทธรณ์)

สาเหตุ:

มีการนำข้อความในลักษณะหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์อันเป็นเท็จ นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เผยแพร่ในรายการ "ทางออกประเทศไทย" ของเว็บไซต์ www.norporchorusa.com และ www.norporchorusa2.com โดยเชื่อว่าผู้ต้องหาคือผู้ดูแลเว็บไซต์ ใช้นามแฝงว่า "เรดอีเกิ้ล"

ความคืบหน้า:

  • ศาลอุทธรณ์รับเรื่องแล้ว ยังไม่มีการนัดหมาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

9. อำพล (สงวนนามสกุล)

ถูกจับกุม:

3 สิงหาคม 2553 (กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางส่งให้ดีเอสไอ)

ข้อหา:

มาตรา 112 
มาตรา 14 (2),(3) พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวตเตอร์ พ.ศ.2550 คำสั่ง คปค.ฉบับที่41
(อยู่ระหว่างต่อสู้คดี)

สาเหตุ:

ถูกกล่าวหาว่าส่ง SMS เข้าข่ายหมิ่นไปยังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

ควาคืบหน้า:

  • อำพล หรือที่ผู้คนมักเรียกว่า "อากง" อายุ 61 ปี ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 2 เดือนเต็ม ก่อนได้รับการประกันตัว จากนั้นเมื่ออัยการสั่งฟ้อง ศาลก็สั่งไม่ให้ประกันตัวจึงกลับเข้าเรือนจำอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน ยื่นประกันตัวอีกแต่ไม่เป็นผล
  • นัดสืบพยานโจทก์-จำเลย วันที่ 23, 27-29 ก.ย.54
  • ผู้ต้องหาเป็นมะเร็งโคนลิ้น ยังมีอาการกำเริบเป็นระยะ เมื่อวันพฤหัสที่ 9 มิ.ย.มีอาการปวดตรงเนื้อร้าย รวมถึงช่องท้องข้างซ้าย หมอในเรือนจำจึงสั่งให้นอนที่ห้องพยาบาลหนึ่งคืน แล้วจึงย้ายเข้าแดน 8 ดังเดิม
  • ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทำเรื่องเพื่อขอออกไปรักษามะเร็งที่โรงพยาบาลนอกเรือนจำ ซึ่งผู้ต้องหาเพิ่งได้รับสิทธิรักษาฟรีเมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

10. สุริยันต์ (สงวนนามสกุล)

ถูกจับกุม:

3 สิงหาคม 2553 (กองบัญชาการตำรวจนครบาล 1)

ความผิด:

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา 
ศาลตัดสินจำคุก 6 ปี 1 เดือน สารภาพเหลือ 3 ปี 15 วัน

สาเหตุ:

โทรศัพท์ไปยัง 191 ข่มขู่จะวางระเบิดโรงพยาบาลศิริราช

ความคืบหน้า:

  • อายุ 29 ปี ครั้งแรกตำรวจนำตัวมาแถลงข่าว โดยระบุว่าจะแจ้งข้อหาทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว หรือความตกใจ โดยการขู่เข็ญ มีโทษจำคุก 1 ปีปรับไม่เกิน 1 พันบาท แต่ท้ายที่สุดมีการแจ้งข้อหาตามมาตรา 112
  • แหล่งข่าวจากในเรือนจำระบุว่าสุริยันต์ถูกทำร้ายร่างกายอย่างหนักเมื่อครั้งแรกเข้าในเรือนจำ ก่อนเหตุการณ์จะยุติลง
  • ทนายความเตรียมยื่นขอพระราชทานอภัยโทษในสัปดาห์หน้า (กลางเดือนมิ.ย.54)

ข่าวเกี่ยวข้อง:

 

ทัณฑสถานหญิงกลาง

11. ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล

ถูกจับกุม:

22 กรกฎาคม 2551  (กองบัญชาการตำรวจนครบาล)

ความผิด:

มาตรา 112

สาเหตุ:

กล่าวปราศรัยที่เวทีเสียงประชาชน ที่สนามหลวง กลางปี 2551

ความคืบหน้า:

  • 17 ตุลาคม 2554 ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดมีคำสั่งว่า การพิจารณาคดีลับที่ผ่านมาขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: