วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บริจาคช่วยเหลือได้ทางบัญชีชื่อ มูลนิธิพิพิธพัณฑ์แรงงานไทย บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 101-7-97864-2 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญ่

วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 21:00:05 น.

ก.แรงงานตั้งท่าของบรัฐอุ้มลูกจ้างถูกน้ำท่วมจ่าย 3 เดือนๆ ละ 3,000 บาท

Share8




กระทรวงแรงงานเตรียมเสนอรัฐบาลของบช่วยเหลือโครงการรักษาสภาพการจ้างลูกจ้าง 6 พันล้านบาท ครอบคลุมลูกจ้างในสถานประกอบการที่ประสบอุทกภัย 6 แสนราย 

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน แถลงข่าววันที่ 18 ตุลาคมว่า ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติกระทรวงแรงงานมีมติ จะจัดทำประมาณการการสนับสนุนเงินแก่สถานประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการเพื่อรักษาสภาพการจ้างลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมไปสักระยะหนึ่ง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขแก่นายจ้างที่จะเข้าโครงการก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า นายจ้างที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐจะนำเงินนี้ไปรักษาสภาพการจ้างงานให้กับลูกจ้างที่ประสบภัย 
 
ในเบื้องต้น ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติกระทรวงแรงงานจะเสนอของบประมาณจากรัฐบาลจำนวนเงิน 5-6 พันล้านบาท เพื่อมอบให้กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการรักษาสภาพการจ้างงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปดูแลลูกจ้างที่ประสบภัยในครั้งนี้ เป็นระยะเวลา 3 เดือนๆ ละ 3,000 บาทต่อราย ซึ่งคาดว่ามีลูกจ้างที่ประสบอุทกภัยครั้งนี้ประมาณ 6 แสนคน

 

ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงแรงงานยังไม่ได้ระบุว่า จะนำข้อเสนอนี้มอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อไร

 

อีกด้านหนึ่ง สำหรับผู้ใช้แรงงานในระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม (สปส) ได้ขอความร่วมมือกับสถานพยาบาลประกันสังคมให้บริการการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยและไม่สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์  ณ สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ โดยไม่เรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์จากผู้ประกันตนได้ โดยให้สถานพยาบาลเบิกค่าบริการทางการแพทย์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจากสำนักงานประกันสังคมจังหวัด/ เขตพื้นที่ที่สถานพยาบาลตั้งอยู่โดยตรง และสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัดสาขา/ที่ท่านสะดวกหรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)

 

โดยนโยบายของสำนักงานประกันสังคมดังกล่าวได้รับการขานรับจากสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งน.พ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เปิดเผยว่า มีโรงพยาบาลเอกชนกว่า 40 แห่งสำหรับผู้ประกันตนและที่อยู่ในโครงการหลักประกันสุขภาพ สามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล แบ่งเป็น 4 โซน 
 
โซน 1 จ. นนทบุรี  รพ.เกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ ,รพ.วิภาราม - ปากเกร็ด    จ.ปทุมธานี   รพ.แพทย์รังสิต, รพ.ภัทร-ธนบุรี , รพ.เอกปทุม ,  รพ.นวนคร ,   รพ.ปทุมเวช  จ.พระนครศรีอยุธยา   รพ.ราชธานี ,   รพ.ศุภมิตรเสนา ,    รพ.นวนคร อยุธยา  จ.   สระบุรี  รพ.เกษมราษฎร์ สระบุรี

 

โซน 2   ฉะเชิงเทรา  รพ.จุฬารัตน์ 11  ,   รพ.โสธราเวช   กรุงเทพตะวันออก   รพ.สายไหม ,   รพ.นวมินทร์ 1 ,   รพ.นวมินทร์ 9 ,   รพ.บี.แคร์ ,  รพ.ลาดพร้าว ,รพ.วิภาราม  ,รพ.เกษมราษฎร์ สุขาภิบาล 3 , รพ.จุฬารัตน์ 3, รพ.จุฬารัตน์ 9 , รพ.บางนา 2 , รพ.รวมชัยประชารักษ์ 

 

โซน 3   แถบตะวันตก  รพ.มหาชัย 1  , รพ.มหาชัย 2  , รพ.แม่กลอง , รพ.วิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล   รพ.วิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล ,  รพ.เกษมราษฎร์ บางแค , รพ.บางไผ่ , รพ.นครธน , รพ.บางมด , รพ.บางปะกอก 9 

 

โซน 4   สมุทรปราการ  รพ.สำโรงการแพทย์ , รพ.เมืองสมุทร , รพ.เมืองสมุทรปู่เจ้า , รพ.เปาโลสมุทรปราการ , รพ.รัทรินทร์ ,รพ.ศิครินทร์,  รพ.บางนา 1 
 
ขณะที่ "ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์" ผู้อำนวยการวิจัยด้านหลักประกันสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เสนอให้กองทุนประกันสังคมใช้กลไกการประกันการว่างงานในการช่วยเหลือลูกจ้างที่ต้องหยุดงานเพราะสถานประกอบการหยุดดำเนินการเพราะภัยน้ำท่วม และเป็นลูกจ้างในระบบประกันสังคมที่เคยสมทบเงินประกันสังคมมาก่อน ไม่ใช่ลูกจ้างทั่วไป โดยให้สถานประกอบการในเขตน้ำท่วมแจ้งแก่สำนักงานประกันสังคมถึงจำนวนวันที่หยุดดำเนินงาน เพื่อใช้ในการคำนวณเงินชดเชยกรณีว่างงาน
 
ทั้งนี้ ในปัจจุบันกองทุนประกันการว่างงานมีเงินสะสมมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท เงินจำนวนนี้สะสมไว้เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ตกงานด้วยเหตุที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ หรือโรงงานต้องหยุดดำเนินการเพราะภัยพิบัติ ถ้าเหตุน้ำท่วมครั้งนี้ทำให้ลูกจ้างตกงานชั่วคราวประมาณ 2 แสนคน กองทุนประกันสังคมจะต้องใช้เงินประมาณ 600 ล้านบาทเพื่อจ่ายเงินชดเชยประมาณ 30 วันให้แก่ผู้ตกงานเหล่านั้น เงินชดเชยนี้เป็นสิทธิของผู้ประกันตนที่สมทบทุกเดือนเพื่อประกันการว่างงาน และการว่างงานด้วยเหตุภัยพิบัติเป็นเหตุที่กองทุนประกันการว่างงานควรที่จะคุ้มครอง ด้วยเงินชดเชยเป็นเงินไม่มาก คือร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ซึ่งเป็นการช่วยบรรเทาภาระด้านการเงินได้ระดับหนึ่ง

 

ด้านเครือข่ายแรงงานไทยได้มีมาตรการช่วยเหลือเพื่อแรงงาน โดยเป็นตัวกลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้วยการขอระดมรับบริจาค สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ตามศูนย์แรงงานกลุ่มย่านสหพันธ์แรงงานและสมาพันธ์แรงงาน จำนวน 10 ศูนย์ หรีอบริจาคช่วยเหลือได้ทางบัญชีชื่อ มูลนิธิพิพิธพัณฑ์แรงงานไทย บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 101-7-97864-2 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญ่สีลม โดยสิ่งของที่ได้รับบริจาคมาทั้งหมดจะนำไปมอบให้ผู้ใช้แรงงาน ในวันที่ 24 ตุลาคมนี้


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1318946629&grpid=03&catid=00

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กรุงเทพมหานครได้ประกาศหลักเกณฑ์และแผนการอพยพ พื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมแล้ว โดยจะแจ้งเตือนล่วงหน้าประมาณ 3 ชั่วโมง

 Tawatchai Kitiyapichatkul
มาแล้วสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด!! จากระบบบูรณาการข้อมูลกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บ้านใครอยู่ตรงไหน ลุ้นเอา ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้ประกาศหลักเกณฑ์และแผนการอพยพ พื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมแล้ว โดยจะแจ้งเตือนล่วงหน้าประมาณ 3 ชั่วโมง 

1. มีการเปิดประตูน้ำตามคลองต่างๆ ทุกคลองเพื่อให้น้ำผ่าน ดังนั้น จะเกิดภาวะระดับน้ำสูงขึ้นจนอาจล้นตลิ่งจนถึงระดับครึ่งแข้งได้
2. ในกรณีฝนตก ซึ่งจะมีมากในช่วงเวลานี้อันเนื่องมาจากพายุต่างๆ ที่มาแล้ว และกำลังจะมาอีก ทาง กทม. จะทำการปิดประตูน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำเข้าท่วมพื้นที่ ดังนั้น จะเกิดกรณีน้ำขังจากฝนตกบ้าง ซึ่งบางครั้งอาจถึงหัวเข่าและเมื่อฝนหยุดตกแล้วจะทำการเปิดประตูระบายน้ำดังเดิม
3. พื้นที่ชุมชนที่อยู่ใกล้ลำคลองต่างๆ ทุกลำคลองจะพบกับปัญหาน้ำล้นตลิ่ง จนถึงน้ำท่วมขัง ดังนั้นแนะนะว่าควรจะขนของหนีน้ำ (ควรจะมีระดับสูงตั้งแต่ 1.00 เมตรขึ้นไป เพราะเรายังไม่อาจคาดได้ในเรื่องของมวลน้ำก้อนใหญ่ที่จะตามเข้ามาใน 2 -3 วันข้างหน้า ดังนั้นกทม. แจ้งเตือนมา ระดับที่ปลอดภัยคือ 0.60 - 0.80 เมตร) ในขณะนี้ขอยืนยันว่าจะยังไม่มีการแจ้งเตือนให้มีการอพยพใดๆ ทั้งสิ้น แต่ยังคงไว้ให้มีการเตรียมการในเรื่องของการขนของหนีน้ำเท่านั้
4.ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถตรวจสอบได้ทางหน้า เว็บไซต์ดังนี้
1. www.ndwc.go.th <http://www.ndwc.go.th/>
2. Facebook page ที่ศปภ.ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3. Twitter page ที่ GCC_111, GCC-192, Nailek507
4. เว็บไซต์และช่องข่าววิทยุและโทรทัศน์ ทุกช่อง แต่ที่อัพเดตรวดเร็วจะมี ช่อง 3, เนชั่น และ Spring News
5. กรณีที่เกิดข่าวจากการพุดแบบปากต่อปาก ขอให้ตรวจสอบมาที่ 1111 ต่อ 5, 1784 หรือ 191

หลักเกณฑ์และแผนการอพยพ ทางกรุงเทพมหานครได้จัดเตรียมแผนในภารกิจอพยพในครั้งนี้โดยได้กำหนดขั้นแรก คือ
1. การจัดทำแผนที่ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งทุ่งตะวันตกชุมชนริมน้ำและแนวตะวันออก โดย 1.1 สำรวจชุมชนและแผนที่ที่ได้รับผลกระทบ 1.2 สำรวจจำนวนครัวเรือนและลงทะเบียนผู้รับผลกระทบ 1.3 กำหนดพื้นที่พักพิงใกล้เคียง
2. การเคลื่อนย้ายผู้รับผลกระทบ 2.1 รถขนย้าย 2.2 เรือขนย้าย 2.3 บุคลากรเจ้าหน้าที่เทศกิจ และ อภปร. 2.4 การประสานเส้นทางการควบคุมการจราจร 2.5 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย คนพิการ และหน่วยแพทย์กู้ชีพ 2.6 การเตือนภัย
3. ศูนย์พักพิงซึ่งจะได้จัดเตรียมสถานที่พักและเครื่องนอน รวมทั้งปัจจัย <http://www.dmc.tv/search/ปัจจั>สี่ และอุปกรณ์ดำรงชีพจัดบุคลากรสนับสนุนให้ข้อมูลข่าวสาร ดูแลสัตว์เลี้ยงที่ผู้อพยพมาออกมาด้วยและการจัดนักจิตวิทยา เข้าไปฟื้นฟูสภาพจิตใจซึ่งจะต้องกระทำการอย่างทันที
4. ศูนย์ประสานงานกลางที่จะต้องดูแลทรัพย์สินบ้านเรือนของมีค่า สำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือรวมทั้งการกระจายของรับบริจาค และสนับสนุนความช่วยเหลือ การอนุมัติงบประมาณประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการแจกคู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม
5. การฟื้นฟูหลังน้ำลดซึ่งมีทั้งการเคลื่อนย้ายกลับที่พัก การสนับสนุนงบประมาณเยียวยาความเสียหายการซ่อมแซมทางกายภาพ และการก่อสร้างแนวป้องกันน้ำเพิ่มเติมให้สมบูรณ์

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ
1. เมื่อแจ้งเตือนน้ำท่วม จะมีการแจ้งล่วงหน้าประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อทำการเก็บของรถยนต์หรือจักยานยนต์ ควรหาอาคารสูงเพื่อจอดรถ ตรวจสอบได้จากห้างสรรพสินค้าต่างๆ
2. ผู้อาศัยที่มีบ้านพักริมคลองหรือบ้านชั้นเดียว ควรมีการเก็บเสื้อผ้าเครื่องใช้จำเป็นให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย กรณีต้องอพยพหนีน้ำ (สำหรับพื้นที่เสี่ยงที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติและ กทม. ประกาศ)
3. การจะไปซื้ออาหารมากักตุนเพื่อสำรองไว้ แนะนำว่าควรจะสำรองไว้เพียงแค่ 2 วันเท่านั้น เพราะเมื่อเกิดเหตุจริง จะมีการดำเนินการเรื่องการแจกของพร้อมอาหารปรุงสำเร็จและน้ำดื่ม (ขอให้เข้าใจว่า ข่าวลือที่เกิดขึ้นนั้นอาจมีการนำเอาประโยชน์ทางธุรกิจมาใช้เพื่อให้ได้กำไร ซึ่งเป็นการฉวยโอกาสของภาคธุรกิจบางส่วนเท่านั้น)สำหรับผู้ที่มั่นใจว่าสามารถพำนักอยู่ที่บ้านได้ ควรมีการเตรียมเตาและถังแก็สให้อยู่ในที่พ้นน้ำเพื่อความสะดวกในการปรุงอาหาร เนื่องจากอาจมีการตัดไฟฟ้า
4. การเตรียมเครื่องใช้ที่จำเป็น ควรเตรียม เครื่องใช้เด็กยากันยุง ยาประจำตัว ยาสามัญ สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ผ้าเช็ดตัวถ่านไฟฉาย ไฟฉาย เทียนไข ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็ค น้ำดื่ม
5. ควรประจุไฟแบตเตอรี่ให้เต็ม เมื่อเกิดเหตุใช้โทรออกแค่จำเป็นเท่านั้น

พื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมกรุงเทพ
1. พื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำ
1.1 พื้นที่ทุ่งรังสิตซึ่งจะทำการรับน้ำ และแยกมวลน้ำออกไปทาง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวา ลาดกระบัง และทางพุทธมณฑลสาย1 และ 2 ถนนกาญจนาภิเษก

1.2 พื้นที่เสี่ยงตามคลอง 9 จุดที่จะมีการรับและระบายน้ำลงสู่อุโมงค์
1.2.1 คลองบางพรม (ถ.กาญจนาภิเษก)
1.2.2 คลองฉิมพลี - คลองบางแวก (พุทธมณฑลสาย 1)
1.2.3 คลองบางแวก (ถ.รัชดาภิเษก)
1.2.4 คลองเปรมประชากร (ดอนเมือง)
1.2.5 คลองลาดพร้าว (วัดลาดพร้าว)ปากคลองตลาด - คลองบางซื่อ (ฝั่งขวา ถ.พหลโยธิน)
1.2.6 คลองมหาสวัสดิ์ (ทั้งสองฝั่ง ถ.พุทธมณฑลสาย 2)

1.3 พื้นที่ประกาศ 15 จุดแนะนำให้ทำการเก็บของหนีน้ำ ได้แก่

1.3.1 เขตสาทร ย่านถนนจันทร์เซนต์หลุยส์สาธุ ประดิษฐ์
1.3.2 เขตพญาไทถนนพหลโยธิน ช่วงคลองสามเสน-คลองบางซื่อ
1.3.3 เขตพระโขนง ถนนสุขุมวิทจากคลองพระโขนง-ซอยลาซาล
1.3.4 เขตวัฒนา ซอยสุขุมวิท 39 และ 49 
1.3.5 เขตวังทองหลางถนนลาดพร้าว จากคลองลาดพร้าว-ห้างเดอะมอลล์
1.3.6 เขตบึงกุ่ม ถนนนวมินทร์จากคลองดอนอีกา-แยกถนนประเสริฐมนูกิจทั้งสองฝั่ง
1.3.7 เขตดินแดง ถนนรัชดาภิเษกหน้าห้างโรบินสัน
1.3.8 เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก แยกลาดพร้าว
1.3.9 เขตราชเทวีถนนเพชรบุรี จากถนนบรรทัดทอง-แยกราชเทวี
1.3.10 เขตราชเทวี ถนนนิคมมักกะสัน
1.3.11 เขตราชเทวี ถนนพระรามที่ 6 หน้าตลาดประแจจีน \
1.3.12 เขตบางแค ถนนเพชรเกษมซอย 63 (ซอยวัดม่วง)
1.3.13 เขตยานนาวา ถนนเย็นอากาศ จากถนนนางลิ้นจี่-ซอยศรีบำเพ็ญ
1.3.14 เขตประเวศ ถนน ศรีนครินทร์ ช่วงคลองตาสาด-คลองตาช้าง
1.3.15 เขตพระนคร ถนนสนามไชยและถนนมหาร1)เขตสาทร ย่านถนนจันทร์เซนต์หลุยส์สาธุประดิษฐ์

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แนวร่วมของขบวนการประชาชน (2)

แนวร่วมของขบวนการประชาชน(2)
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ 10 ตุลาคม 2554
พิจารณาแนวร่วมของขบวนการประชาชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เราอาจย้อนหลังไปถึง พศ.2475 คณะราษฎรก็จัดเป็นแนวร่วมชุดแรกที่ประสบผลสำเร็จ
ในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy)เป็นระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
(constitutional monarchy) 
ความจริง พวกเขาก่อตั้งคณะราษฎรเพื่อให้ต่อสู้โดยมีองค์กร และเป็นเอกภาพ มีเป้าหมายชัดเจนในการต่อสู้ แต่ท่ามกลางการต่อสู้และผลสำเร็จ 
เราวิเคราะห์ได้ว่า มีบุคคลหลายกลุ่มที่แตกต่างกันในคณะราษฎร จนนำไปสู่การแตกแยก พลเรือนหัวก้าวหน้าถูกกำจัดไปในปี พศ. 2490 และ
คณะราษฎรทั้งหมดถูกกำจัดไปโดยจอมพล สฤษฎิ์ ธนะรัชต์ในปีพศ.2500 ความแตกแยกของคณะราษฎร หันมาทำลายกันเอง แล้วปีกขวา 
สายทหารคณะราษฎรได้ไปร่วมมือกับระบอบอำมาตย์และพวกจารีตนิยมสุดโต่ง ในที่สุดคณะราษฎรก็ถูกทำลายจนหมดสิ้น

มาถึง พศ. 2516 เหตุการณ์ 14 ตุลาคม มีศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำการเคลื่อนไหวแต่องคาพยพการเคลื่อนไหวทั้งหมด
ป็นแนวร่วมที่ไม่มีรูปการ เพราะประกอบด้วย กลุ่มขุนนางเครือข่ายระบอบอำมาตย์และพรรคการเมืองที่ต้องการโค่นล้มกลุ่มเผด็จการทหารที่แข็งข้
ต่อเครือข่ายระบอบอำมาตย์ส่วนทั้งหมด
และในกลุ่มนิสิตนักศึกษาก็ยังมี องค์กร และกลุ่มนิสิต นักศึกษาอื่นๆ เช่น กลุ่มนักศึกษาหัวก้าวหน้า กลุ่มนักศึกษาครู กลุ่มนักศึกษาแพทย์ กลุ่มนักเรียนอาชีวะ 
และองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างที่คนไม่ค่อยพูดถึง เพราะไม่มีการจัดตั้งองค์กรคือ กลุ่มคนจนเมือง เพราะในรายชื่อผู้เสียชีวิต ส่วนมากจะเป็นคนจนเมือง 
ร่วมกับนักเรียน นิสิตนักศึกษา และหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ได้รับชัยชนะระดับหนึ่ง การแตกแยก และถูกทำลายก็เกิดขึ้นในขบวนการนักศึกษา ประชาชน 
จนกระทั่งถูกทำลายอย่างย่อยยับ โดยเริ่มต้นทันทีหลังชัยชนะและต่อเนื่องไปจนถึง 6 ตุลา 19 การถูกทำลายนั้นโดยกลไกรัฐเป็นสำคัญ คือหน่วนงานความมั่นคงภายใน
ซึ่งมีงบประมาณจากเงินภาษีอากรประชาชนเอามาทำลายประชาชนดังกรณี บ้านนาทราย นาหินกอง ถีบลงเขาเผาลงถังแดง (พัทลุง ตรัง สุราษฎรธานี นครศรีธรรมราช)
การแยกนักเรียนอาชีวะออกไปจากขบวนการนิสิตนักศึกษา เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็แทรกแซง ศนท.และขบวนการนิสิตนักศึกษา และตามด้วยสร้างภาพให้ขบวนนิสิตนักศึกษา เป็นพวกเลวร้าย ทำลายประเทศ พกระเบิดใส่ย่าม เป็นคอมมิวนิสต์ มาต่อต้านทำลายขบวนการนักศึกษาประชาชน แยกนักศึกษาออกจากประชาชน 
แล้วสร้างลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มกระทิงแดง อภิรักษ์จักรีฯลฯ 

สุดท้าย หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 นักศึกษาประชาชนก็หนีภัยสยดสยอง เข้าป่า สมทบกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)
นี่เป็นบทเรียนจากชัยชนะของประชาชนที่ได้มาระดับหนึ่งในขั้นตอนขับไล่เผด็จการทหาร แต่กลายเป็นเผชิญกับภัยสยดสยองยิ่งกว่ายุคถนอม-ประภาส
ด้วยฝีมือระบอบอำมาตยาธิปไตยและเผด็จการทหารชุดใหม่ ที่ร่วมมือร่วมใจกับระบอบอำมาตย์เป็นอย่างดี
ดังที่ผู้เขียนเคยกล่าวไว้ว่า ในทุกๆ ชัยชนะ จะมีปัจจัยแห่งการพ่ายแพ้เกิดขึ้นทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชัยชนะของขบวนการประชาชน ซึ่งนำโดยแนวร่วมทั้งที่มีองค์กร 
และไม่มีองค์กร
เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เป็นความต่อเนื่องของ 14 ตุลา 16 ที่ขบวนการประชาชนอยู่ในบรรยากาศของสงครามเย็นเข้มข้น และในเอเซียอาคเนย์ เป็นเรื่องร้อนที่ลุกเป็นไฟ เนื่องจากการต่อสู้ของประชาชนใน กัมพูชา ลาว เวียดนาม ความหวาดกลัวของเครือข่ายระบอบอำมาตย์จึงขึ้นสูงลิ่ว ทำให้สามารถฆ่าคนไทยด้วยกันด้วยความโหดร้ายสยดสยองอย่างที่สุด
ในเหตุการณ์พฤษภา 35 จากแนวร่วมที่ไม่มีรูปการณ์ที่แตกคอกันตั้งแต่ยังไม่ได้ต่อสู้อย่างหนักหน่วง ฝ่ายประชาชนได้พิจารณาจัดตั้ง สมาพันธ์ประชาธิปไตย เป็นองค์กรแนวร่วมหลวมๆ ที่มี จำลอง ศรีเมือง ที่ได้ชัยชนะถล่มทลายจากการแข่งขันเลือกตั้งเป็นผู้ว่ากทม. และมีกลุ่มตัวแทน เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัย ปัญญาชน เอ็นจีโอ กรรมกร ผู้ประท้วงสำคัญ นิสิตนักศึกษา ร่วมกัน 7 คน เป็นแกนนำทำให้การนำที่ไม่ราบรื่น สามารถเข้าสู่การต่อสู้ในช่วงวิกฤตได้เป็นเอกภาพ และสุดท้ายก็ได้รับชัยชนะระดับหนึ่ง 
แต่ไม่ว่า 14 ตุลา 19 หรือพฤษภา 35 หาใช่ชัยชนะที่แท้จริงของประชาชนไม่ แต่เป็นเพราะเครือข่ายอำมาตย์เลือกเข้าร่วมกับชัยชนะของประชาชนด้วยการให้เผด็จการทหารถอยออกไป และเมื่อเครือข่ายระบอบอำมาตย์ต้องการเอาชัยชนะคืนไป ก็สามารถเอาคืนได้อย่างง่ายๆ

มาถึงเรื่อง แนวร่วมการต่อสู้หลังการรัฐประหาร พศ. 2549 จะเห็นภาพงานแนวร่วมชัดเจน จากแนวร่วมที่ไม่มีองค์กร (ไม่มีรูปการณ์ในปีพศ.2549 และยังไม่มีพลังใดๆ มีกลุ่ม 19 กันยาต่อต้านรัฐประหาร กลุ่มสมาพันธ์ประชาธิปไตย กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ กลุ่มพีทีวี กลุ่มพิราบขาวฯลฯ จนกลายเป็น นปก.
"แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ" นี่เป็นองค์กรที่มีรูปการณ์แต่เป็นรูปการณ์ขั้นต้น ไม่มีแนวทาง นโยบาย หลักการ รองรับ นอกจากเป้าหมายตามชื่อ 
ต่อมาองค์กรพัฒนาเป็น นปช. "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ"(United Front of Democracy against Dictatorship UDD) มีบางอย่างเช่น
ความหลากหลาย คล้ายกับขบวนการแซนดิเนสตา ของนิคารากัว เมื่อมาเป็น นปช. หลังการขัดแย้งแตกแยกก็พัฒนา มีหลักนโยบาย เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ 
ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี 
มีการจัดตั้งองค์กร 
การอบรมผู้ปฏิบัติงาน มีการเปิดโรงเรียน เพื่อสร้างแกนนำ
องค์กรประกอบของแนวร่วมที่แตกต่างกัน เป็นทั้งปัจจัยแห่งชัยชนะที่มีแนวร่วมและมวลชนสนับสนุนกว้างขวาง และเป็นทั้งปัจจัยแห่งความพ่ายแพ้ 
เพราะขาดเอกภาพทางการปฏิบัติ และมีการฉุดรั้ง สร้างปัญหา อุปสรรคในการขับเคลื่อนขบวนการต่อสู้ของประชาชน
ความสามัคคีแม้เป็นหลักการสำคัญของแนวร่วม แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานหลักการที่ถูกต้อง ทิศทางที่ถูกต้อง เพราะนี่เป็นแนวร่วมของขบวนการประชาชน 
ต้องไม่ใช้ "ลัทธิพรรคพวก" อันบ่งชี้ถึงความเห็นแก่ประโยชน์ตน 

ส่วน "การแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง" อันเป็นหลักปฏิบัติหนึ่งในงานแนวร่วม ก็เช่นกัน ต้องอยู่บนหลัก ผลประโยชน์ประชาชน และทิศทางที่ก้าวหน้า 
ไม่ใช่ย้อนวิถีประวัติศาสตร์ 
การแยกแยะถูกผิด จึงต้องควบคู่กับความสามัคคี และดำเนินงาน แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวร่วมชั้นใน หรือแกนของแนวร่วม 
แต่หลักการไม่ขยายความขัดแย้งในหมู่ประชาชนหรือในแนวร่วม ยังเป็นหลักการที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในงานแนวร่วมเสมอ เส้นแบ่งถูก-ผิด 
เส้นแบ่งมิตร-ศัตรู จึงต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ แล้วจึงกำหนดท่าทีท่วงทำนองได้ถูกต้องเหมาะสม 
ต่อมิตรจะจัดการเรื่องถูกผิดอย่างไร ต่อศัตรูจะจัดการเรื่องถูกผิดอย่างไร 
ท่าทีท่วงทำนองต่อมิตรศัตรูย่อมต่างกัน
นี่จึงเป็นบทเรียนบทแรกของการต่อสู้ของประชาชน
การจำแนกถูกผิดยิ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของขบวนที่อาจทำให้ชนะแพ้ แตกสลาย หรือเติบใหญ่กว้างขวาง ที่จะสร้างเอกภาพของขบวนเช่นนี้
แต่องค์กรแนวร่วมมีปัจจัยชัยชนะที่สำคัญคือ "อยู่ในบรรยากาศการเคลื่อนไหวต่อสู้โดยตลอด"
และปัจจัยแห่งความพ่ายแพ้ นอกจากการหลงอยู่กับความสำเร็จชั่วคราวแล้ว การขาดการปรับขบวนให้สอดคล้องกับทุกสถานการณ์ก็จะมีผลทำให้ขบวนหยุดนิ่ง 
ถอยหลัง แตกสลายได้

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Anti-Flag You Can Kill The Protester

The Amazing Spider-Man trailer - not Spiderman 4 - official 2012 trailer

4 10 54 ข่าวเที่ยงDNN สภาฯตอบรับข้อเสนอ

MV น้ำเอยน้ำใจ - อัสนีย์ วสันต์

ประมวลภาพการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา

น้ำท่วมบ้านเราเอง

เราอยู่โนนสูง ต.ธารปราสาท ปีที่แล้วท่วมมาก

อยากให้คนกรุงเทพเผชิญน้ำท่วมบ้­าง จะได้ทุกข์ร่วมกัน กักน้ำกันอยู่ได้ ให้ชาวบ้านเค้าเดือดร้อน

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ยามห่างไกล

เเปลงมาจากเพลง ฝากใจสู่นาคร

ไม่เคยลืมเลือน ย้ำเตือนสัมพันธ์

ด้วยใจไฝ่ฝัน จะคอยเดือนวันและคืน