วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แนวร่วมของขบวนการประชาชน (2)

แนวร่วมของขบวนการประชาชน(2)
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ 10 ตุลาคม 2554
พิจารณาแนวร่วมของขบวนการประชาชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เราอาจย้อนหลังไปถึง พศ.2475 คณะราษฎรก็จัดเป็นแนวร่วมชุดแรกที่ประสบผลสำเร็จ
ในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy)เป็นระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
(constitutional monarchy) 
ความจริง พวกเขาก่อตั้งคณะราษฎรเพื่อให้ต่อสู้โดยมีองค์กร และเป็นเอกภาพ มีเป้าหมายชัดเจนในการต่อสู้ แต่ท่ามกลางการต่อสู้และผลสำเร็จ 
เราวิเคราะห์ได้ว่า มีบุคคลหลายกลุ่มที่แตกต่างกันในคณะราษฎร จนนำไปสู่การแตกแยก พลเรือนหัวก้าวหน้าถูกกำจัดไปในปี พศ. 2490 และ
คณะราษฎรทั้งหมดถูกกำจัดไปโดยจอมพล สฤษฎิ์ ธนะรัชต์ในปีพศ.2500 ความแตกแยกของคณะราษฎร หันมาทำลายกันเอง แล้วปีกขวา 
สายทหารคณะราษฎรได้ไปร่วมมือกับระบอบอำมาตย์และพวกจารีตนิยมสุดโต่ง ในที่สุดคณะราษฎรก็ถูกทำลายจนหมดสิ้น

มาถึง พศ. 2516 เหตุการณ์ 14 ตุลาคม มีศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำการเคลื่อนไหวแต่องคาพยพการเคลื่อนไหวทั้งหมด
ป็นแนวร่วมที่ไม่มีรูปการ เพราะประกอบด้วย กลุ่มขุนนางเครือข่ายระบอบอำมาตย์และพรรคการเมืองที่ต้องการโค่นล้มกลุ่มเผด็จการทหารที่แข็งข้
ต่อเครือข่ายระบอบอำมาตย์ส่วนทั้งหมด
และในกลุ่มนิสิตนักศึกษาก็ยังมี องค์กร และกลุ่มนิสิต นักศึกษาอื่นๆ เช่น กลุ่มนักศึกษาหัวก้าวหน้า กลุ่มนักศึกษาครู กลุ่มนักศึกษาแพทย์ กลุ่มนักเรียนอาชีวะ 
และองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างที่คนไม่ค่อยพูดถึง เพราะไม่มีการจัดตั้งองค์กรคือ กลุ่มคนจนเมือง เพราะในรายชื่อผู้เสียชีวิต ส่วนมากจะเป็นคนจนเมือง 
ร่วมกับนักเรียน นิสิตนักศึกษา และหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ได้รับชัยชนะระดับหนึ่ง การแตกแยก และถูกทำลายก็เกิดขึ้นในขบวนการนักศึกษา ประชาชน 
จนกระทั่งถูกทำลายอย่างย่อยยับ โดยเริ่มต้นทันทีหลังชัยชนะและต่อเนื่องไปจนถึง 6 ตุลา 19 การถูกทำลายนั้นโดยกลไกรัฐเป็นสำคัญ คือหน่วนงานความมั่นคงภายใน
ซึ่งมีงบประมาณจากเงินภาษีอากรประชาชนเอามาทำลายประชาชนดังกรณี บ้านนาทราย นาหินกอง ถีบลงเขาเผาลงถังแดง (พัทลุง ตรัง สุราษฎรธานี นครศรีธรรมราช)
การแยกนักเรียนอาชีวะออกไปจากขบวนการนิสิตนักศึกษา เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็แทรกแซง ศนท.และขบวนการนิสิตนักศึกษา และตามด้วยสร้างภาพให้ขบวนนิสิตนักศึกษา เป็นพวกเลวร้าย ทำลายประเทศ พกระเบิดใส่ย่าม เป็นคอมมิวนิสต์ มาต่อต้านทำลายขบวนการนักศึกษาประชาชน แยกนักศึกษาออกจากประชาชน 
แล้วสร้างลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มกระทิงแดง อภิรักษ์จักรีฯลฯ 

สุดท้าย หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 นักศึกษาประชาชนก็หนีภัยสยดสยอง เข้าป่า สมทบกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)
นี่เป็นบทเรียนจากชัยชนะของประชาชนที่ได้มาระดับหนึ่งในขั้นตอนขับไล่เผด็จการทหาร แต่กลายเป็นเผชิญกับภัยสยดสยองยิ่งกว่ายุคถนอม-ประภาส
ด้วยฝีมือระบอบอำมาตยาธิปไตยและเผด็จการทหารชุดใหม่ ที่ร่วมมือร่วมใจกับระบอบอำมาตย์เป็นอย่างดี
ดังที่ผู้เขียนเคยกล่าวไว้ว่า ในทุกๆ ชัยชนะ จะมีปัจจัยแห่งการพ่ายแพ้เกิดขึ้นทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชัยชนะของขบวนการประชาชน ซึ่งนำโดยแนวร่วมทั้งที่มีองค์กร 
และไม่มีองค์กร
เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เป็นความต่อเนื่องของ 14 ตุลา 16 ที่ขบวนการประชาชนอยู่ในบรรยากาศของสงครามเย็นเข้มข้น และในเอเซียอาคเนย์ เป็นเรื่องร้อนที่ลุกเป็นไฟ เนื่องจากการต่อสู้ของประชาชนใน กัมพูชา ลาว เวียดนาม ความหวาดกลัวของเครือข่ายระบอบอำมาตย์จึงขึ้นสูงลิ่ว ทำให้สามารถฆ่าคนไทยด้วยกันด้วยความโหดร้ายสยดสยองอย่างที่สุด
ในเหตุการณ์พฤษภา 35 จากแนวร่วมที่ไม่มีรูปการณ์ที่แตกคอกันตั้งแต่ยังไม่ได้ต่อสู้อย่างหนักหน่วง ฝ่ายประชาชนได้พิจารณาจัดตั้ง สมาพันธ์ประชาธิปไตย เป็นองค์กรแนวร่วมหลวมๆ ที่มี จำลอง ศรีเมือง ที่ได้ชัยชนะถล่มทลายจากการแข่งขันเลือกตั้งเป็นผู้ว่ากทม. และมีกลุ่มตัวแทน เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัย ปัญญาชน เอ็นจีโอ กรรมกร ผู้ประท้วงสำคัญ นิสิตนักศึกษา ร่วมกัน 7 คน เป็นแกนนำทำให้การนำที่ไม่ราบรื่น สามารถเข้าสู่การต่อสู้ในช่วงวิกฤตได้เป็นเอกภาพ และสุดท้ายก็ได้รับชัยชนะระดับหนึ่ง 
แต่ไม่ว่า 14 ตุลา 19 หรือพฤษภา 35 หาใช่ชัยชนะที่แท้จริงของประชาชนไม่ แต่เป็นเพราะเครือข่ายอำมาตย์เลือกเข้าร่วมกับชัยชนะของประชาชนด้วยการให้เผด็จการทหารถอยออกไป และเมื่อเครือข่ายระบอบอำมาตย์ต้องการเอาชัยชนะคืนไป ก็สามารถเอาคืนได้อย่างง่ายๆ

มาถึงเรื่อง แนวร่วมการต่อสู้หลังการรัฐประหาร พศ. 2549 จะเห็นภาพงานแนวร่วมชัดเจน จากแนวร่วมที่ไม่มีองค์กร (ไม่มีรูปการณ์ในปีพศ.2549 และยังไม่มีพลังใดๆ มีกลุ่ม 19 กันยาต่อต้านรัฐประหาร กลุ่มสมาพันธ์ประชาธิปไตย กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ กลุ่มพีทีวี กลุ่มพิราบขาวฯลฯ จนกลายเป็น นปก.
"แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ" นี่เป็นองค์กรที่มีรูปการณ์แต่เป็นรูปการณ์ขั้นต้น ไม่มีแนวทาง นโยบาย หลักการ รองรับ นอกจากเป้าหมายตามชื่อ 
ต่อมาองค์กรพัฒนาเป็น นปช. "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ"(United Front of Democracy against Dictatorship UDD) มีบางอย่างเช่น
ความหลากหลาย คล้ายกับขบวนการแซนดิเนสตา ของนิคารากัว เมื่อมาเป็น นปช. หลังการขัดแย้งแตกแยกก็พัฒนา มีหลักนโยบาย เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ 
ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี 
มีการจัดตั้งองค์กร 
การอบรมผู้ปฏิบัติงาน มีการเปิดโรงเรียน เพื่อสร้างแกนนำ
องค์กรประกอบของแนวร่วมที่แตกต่างกัน เป็นทั้งปัจจัยแห่งชัยชนะที่มีแนวร่วมและมวลชนสนับสนุนกว้างขวาง และเป็นทั้งปัจจัยแห่งความพ่ายแพ้ 
เพราะขาดเอกภาพทางการปฏิบัติ และมีการฉุดรั้ง สร้างปัญหา อุปสรรคในการขับเคลื่อนขบวนการต่อสู้ของประชาชน
ความสามัคคีแม้เป็นหลักการสำคัญของแนวร่วม แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานหลักการที่ถูกต้อง ทิศทางที่ถูกต้อง เพราะนี่เป็นแนวร่วมของขบวนการประชาชน 
ต้องไม่ใช้ "ลัทธิพรรคพวก" อันบ่งชี้ถึงความเห็นแก่ประโยชน์ตน 

ส่วน "การแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง" อันเป็นหลักปฏิบัติหนึ่งในงานแนวร่วม ก็เช่นกัน ต้องอยู่บนหลัก ผลประโยชน์ประชาชน และทิศทางที่ก้าวหน้า 
ไม่ใช่ย้อนวิถีประวัติศาสตร์ 
การแยกแยะถูกผิด จึงต้องควบคู่กับความสามัคคี และดำเนินงาน แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวร่วมชั้นใน หรือแกนของแนวร่วม 
แต่หลักการไม่ขยายความขัดแย้งในหมู่ประชาชนหรือในแนวร่วม ยังเป็นหลักการที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในงานแนวร่วมเสมอ เส้นแบ่งถูก-ผิด 
เส้นแบ่งมิตร-ศัตรู จึงต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ แล้วจึงกำหนดท่าทีท่วงทำนองได้ถูกต้องเหมาะสม 
ต่อมิตรจะจัดการเรื่องถูกผิดอย่างไร ต่อศัตรูจะจัดการเรื่องถูกผิดอย่างไร 
ท่าทีท่วงทำนองต่อมิตรศัตรูย่อมต่างกัน
นี่จึงเป็นบทเรียนบทแรกของการต่อสู้ของประชาชน
การจำแนกถูกผิดยิ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของขบวนที่อาจทำให้ชนะแพ้ แตกสลาย หรือเติบใหญ่กว้างขวาง ที่จะสร้างเอกภาพของขบวนเช่นนี้
แต่องค์กรแนวร่วมมีปัจจัยชัยชนะที่สำคัญคือ "อยู่ในบรรยากาศการเคลื่อนไหวต่อสู้โดยตลอด"
และปัจจัยแห่งความพ่ายแพ้ นอกจากการหลงอยู่กับความสำเร็จชั่วคราวแล้ว การขาดการปรับขบวนให้สอดคล้องกับทุกสถานการณ์ก็จะมีผลทำให้ขบวนหยุดนิ่ง 
ถอยหลัง แตกสลายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น